โครงงานวิชาชุมนุม เรื่อง วัยรุ่นไทยห่างไกลบุหรี่ แอลกอฮอล์และอบายมุข

โครงงานวิชาชุมนุม

เรื่อง วัยรุ่นไทยห่างไกลบุหรี่ แอลกอฮอล์และอบายมุข



จัดทำโดย
        นางสาว  สุธินี ศรีสมบูรณ์ เลขที่ 6  
         นางสาว  ฐาปนี สายน้ำ เลขที่ 27
         นางสาว  ณัฐกฤตา อุ่นนาภิวัฒน์ เลขที่ 28

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/12


โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ชุมนุม
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2561
โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์








ชื่อโครงงาน            วัยรุ่นไทยห่างไกลบุหรี่ แอลกอฮอล์และอบายมุข
ประเภทโครงงาน   โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
คณะผู้จัดทำ          
1.นางสาว สุธินี ศรีสมบูรณ์
2.นางสาว ฐาปนี สายน้ำ
3.นางสาว ณัฐกฤตา อุ่นนาภิวัฒน์
ครูที่ปรึกษา    อาจารย์ บุพกานต์ ศรีโมลา
                   อาจารย์ พงศกร ชูชื่น
ปีการศึกษา     2560
























บทคัดย่อ
โครงงานชุมนุม  พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง วัยรุ่นไทยห่างไกลยาเสพติด จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้รู้วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากยาเสพติด  2. เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด 3.เพื่อให้รู้โทษภัยและอันตรายจากยาเสพติด  การพัฒนาเว็บไซต์ใช้โปรแกรม Microsoft Word 2010
ผลการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง วัยรุ่นไทยห่างไกลยาเสพติด ในเว็บไซต์ประกอบด้วย ข้อมูลของยาเสพติด โทษของยาเสพติด และ ลักษณะผู้ติดยาเสพติด ทำให้ได้เว็บบล็อกเรื่องวัยรุ่นไทยห่างไกลยาเสพติด เป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป ส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักวิธีป้องกันและโทษของยาเสพติดมากขึ้น

























กิตติกรรมประกาศ
               โครงงานนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี คณะผู้จัดทำขอขอบคุณ อาจารย์ บุพกานต์ ศรีโมลา และ
อาจารย์ พงศกร ชูชื่น ที่ได้ให้คำปรึกษาชี้แนวทางในการจัดทำโครงงานในครั้งนี้จนโครงงานนี้สำเร็จ และ ขอบคุณครอบครัว เพื่อนๆทุกคนที่คอยให้กำลังใจที่ดีมาตลอด คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


คณะผู้จัดทำ

























สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                       หน้า บทคัดย่อ                                                                                                                    ก 
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                         ข 
สารบัญ                                                                                                                      ค 
บทที่ 1 บทนำ                                                                                                              1
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                            2-38
บทที่ 3 วิธีการดำเนินโครงงาน                                                                                      39-40
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน                                                                                               41
บทที่ 5 สรุปอภิปรายและข้อเสนอแนะ                                                                                42
บรรณานุกรม                                                                                                              43






















บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
                ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของประเทศ ซึ่งบ่อนทำลายทรัพยากรและความมั่นคงของประเทศชาติและสังคมเป็นอย่างมาก ได้มีการดำเนินงานในทุกวิถีทางที่จะป้องกันและปราบปามมิให้มีการเสพ การซื้อขาย และการผลิตยาเสพติด แต่เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใหม่ที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อต่อการดำเนินการ และไม่ได้มีแต่ประเทศไทยแห่งเดียวเท่านั้น ประเทศอื่นๆก็มีการเสพ การซื้อขาย และการผลิตยาเสพติดอยู่ตลอดเวลา
               ยาเสพติดจะเข้ามีอิทธิพลกับวัยรุ่นเป็นอย่างมากในช่วงเวลานี้ โดยบางครั้งอาจได้รับคำชักชวนจากเพื่อน ในช่วงวัยนี้บุคคลที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมากที่สุดก็คือเพื่อน เพราะปัญหาที่ไม่กล้าบอกเล่าหรือไม่ได้รับความสนใจจากผู้ปกครองรวมทั้งครูอาจารย์ คนที่ได้รับความไว้วางใจที่สุดก็คือเพื่อน และเพื่อนก็คือคนที่อยู่ในช่วงอายุใกล้เคียงกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้คำแนะนำที่ได้ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง บ่อยครั้งคำแนะนำที่ได้ก็คือการหลีกหนีปัญหาโดยการใช้ยาเสพติด โดยเริ่มจากบุหรี่ เหล้า และนำไปสู่ยาเสพติดชนิดต่างๆที่ร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ 
ดังนั้นกลุ่มข้าพเจ้าคิดโครงงานนี้เพื่อศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับการติดสารเสพติดในปัจจุบันของวัยรุ่นในสังคมไทย และเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย ห่างไกลยาเสพติด
วัตถุประสงค์ที่ศึกษา
        1.เพื่อให้รู้วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากยาเสพติด
        2.  เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
        3.เพื่อให้รู้โทษภัยและอันตรายจากยาเสพติด
ขอบเขตการศึกษา
   - ศึกษาเฉพาะเรื่องยาเสพติด
ขั้นตอนการดำเนินงาน
        1.คิดหัวข้อโครงงงานเพื่อนำเสนอคุณครูที่ปรึกษา
        2.ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล
        3.จัดทำโครงร่าง
        4.ศึกษาหาข้อมูลการทำเว็บบล็อก
        5.ออกแบบสร้างเว็บบล็อก และจัดทำโครงงาน
        6.เผยแพร่โครงงานในเว็บบล็อกสรุปรายงานและทำเป็นรูปเล่ม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
        1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บบล็อก
        2.ให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
        3.ให้ความรู้เกี่ยวกับวัยรุ่นเรื่องโทษภัยและอันตรายจากยาเสพติด

บทที่   2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

แนวคิดเกี่ยวกับปัญหาสังคม
2.3.1 ความหมายของปัญหาสังคม (โกศล วงศส์ วรรค์ และสถิต วงศส์ วรรค์, 2543)
Paul B. Horton และ Gerald R. Leslie (1960:6) ว่า ปัญหาสังคมเป็น
สภาวการณ์ที่มีผลต่อคนจำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาและมีความรู้สึกว่า สภาวะนั้น-
สามารถกระทำ บางอย่างเพื่อแก้ไข ได้โดยการกระทำ ร่วมกัน (อีกสำนวนว่า ปัญหาสังคมเป็น
สภาวะที่กระทบกระเทือนบุคคลจำวนหนึ่งที่มากพอสมควรในวิถีทางที่ไม่พึงปรารถนา และมี
ความรู้สึกว่า ควรจะมีการกระทำร่วมกันบางอย่าง)
Rubington (1982) ว่าปัญหาสังคมคือ สถานการณ์ที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยม
ของคนเป็นจำนวนมาก ในสังคมหนึ่งสังคมใด เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะต้องทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ร่วมกัน เพื่อแก้ไขสถานการณ์นั้น จึงได้ตกลงใจที่จะจัดการแก้ไขสถานการณ์นั้น ให้กลับสู่สภาพ
ปกติหรือให้มีสภาพดีขึ้น
Larson (1982) กล่าวว่า ปัญหาสังคมเป็นสภาวการณ์ที่มีผลกระทบทำ ให้บุคคล
จำนวนหนึ่งซึ่งมากพอควร เกิดความรู้สึกไม่พอใจ และพิจารณาเห็นว่า ควรจะมีการกระทำ ร่วมกัน
เพื่อแก้ไขสภาวการณ์นั้น
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ (2540:295) กล่าวว่า ปัญหาสังคมเป็นสภาวการณ์ที่
เกิดขึ้นแล้ว ส่งผลกระทบกระเทือนต่อคนกลุ่มใหญ่ในสังคม หรือสภาวการณ์ที่คนในสังคมส่วน
ใหญ่เห็นว่าปัญหาและสมาชิกเหล่านั้น ของสังคมเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะมีการดำเนินการแก้ไข
สภาวการณ์นั้นในรูปของการกระทำ ร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหานั้นให้หมดไปหรือบรรเทาลงและ
ปัญหาสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเห็นของกลุ่มคนในแต่ละช่วงเวลา
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2526) กล่าวว่า ปัญหาสังคมคือสถานการณ์อย่างหนึ่งอย่าง
ใดที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมของคนเป็นจำนวนมากของกลุ่มหรือของสังคมหนึ่ง จนเป็นเหตุให้
เขาตกลงใจที่จะกระทำ การแก้ไขสถานการณ์นั้น เมื่อเขาตระหนักว่าอยู่ในวิสัยที่จะทำได้
ณรงค์ เส็งประชา (2541:136) กล่าวว่า ปัญหาสังคม เป็นสภาวการณ์ที่ผู้คนจำนวนมากในสังคมกำหนดให้เป็นปัญหา เพราะเห็นว่า ไม่สอดคล้องกับแบบฉบับที่ควรจะเป็นไป
ตามบรรทัดฐานของสังคม และเห็นว่า จะต้องมีการแก้ไขสภาวการณ์นั้นให้หมดไป หรือบรรเทาลง
จะปล่อยทิ้งไว้เฉยๆไม่ได้
กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ (2529:170 อ้างถึง ในโกศล วงศ์สวรรค์ และ
สถิต วงศ์สวรรค์ 2543) กล่าวว่า ปัญหาสังคม ได้แก่ปัญหาที่เกี่ยวข้อง ความต้องการขั้นมูลฐาน
ของประชาชน เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือระเบียบของสังคม และเป็นสภาวการณ์ที่มี
ผลกระทบกระเทือนต่อสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคม ซึ่งคนเหล่านั้น ไม่ปรารถนาที่จะให้ สภาวการณ์
ดังกล่าวเกิดขึ้นและในขณะเดียวกัน ต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจะได้มีการร่วมมือกัน
บางประการ เพื่อที่จะหาวิธีหรือมาตรการในการแก้ไขปัญหาหรือสภาวการณ์นั้นๆ
พัทยา สายหู (2536) กล่าวว่า ประเด็นสำคัญของปัญหาสังคมจะอยู่ที่ลักษณะ
2 ประการ คือ
1. สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมรู้สึกเดือดร้อนเพราะปรากฏการณ์นั้น
2. ต้องการและพยายามหาทางแก้ไขขจัดปรากฏการณ์ที่ไม่พึงปรารถนานั้น
จรัญ พรหมอยู่ (2526) ว่า ปัญหาสังคม หมายถึง ปรากฏการณ์ทางสังคมที่
ผู้คนส่วนใหญ่เห็นว่าสิ่งที่ไม่ดีเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาให้เกิดขึ้นและจำเป็นต้องมีนโยบายหรือ
โครงการที่จะแก้ไขเพื่อลดหรือขจัดปัญหานั้น
อานนท์  อาภาภิรมณ์ (2517) ได้เสนอแนวคิดของ Raab และ Selznick พร้อม
ทั้งยกตัวอย่างประกอบคำอธิบายไว้ว่าปัญหาสังคมคือ ปัญหาที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในหมู่
ประชาชน ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ร่วมกันนั้นได้สร้างสัมพันธภาพ
ที่แน่นอนขึ้นมา เพื่อให้เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าบุคคลพึงได้รับความหวังและการปฏิบัติจาก
บุคคลอื่นในด้านใดบ้างและในขณะเดียวกันบุคคลอื่นก็ควรจะได้รับความหวังและการปฏิบัติการ
ตอบสนองนั้นดุจเดียวกัน เช่น เป็นที่เข้า ใจกันว่า นาย ก. จะไม่ขโมยทรัพย์สินของ นาย ข. และ
ในทำนองเดียวกัน นาย ข. ก็ย่อมจะไม่ขโมยทรัพย์สินของ นาย ก. เป็นต้นนอกจากนั้น ปัญหา
สังคมยังเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปรารถนาข้นมูลฐานของประชาชนและเกี่ยวของกับระเบียบ
ขั้นมูลฐานของสังคมอีกด้วยเมื่อประชาชนไม่ได้มีสิ่งที่ตนปรารถนาและทำการละเมิดระเบียบของ
สังคมขึ้น จึงถือว่าเป็นปัญหาสังคม
สรุป ปัญหาสังคม คือ สภาวการณ์ที่เลวร้าย มีพิษ เป็นภัย ไม่สอดคล้องกับ
ค่านิยม เป็นไปในทางไม่ดี ไม่พึงปรารถนา เบี่ยงเบนไปจากภาวะปกติ และปทัสถานสังคม มี
ผลกระทบต่อคนจำนวนมากพอสมควร คุกคามก่ออันตรายเสียหายแก่สังคม คนจำนวนมาก
เดือดร้อนเกิดความรู้สึกไม่พอใจ และคนเหล่านั้น คิดกันว่าปัญหานั้น มีวิถีทางจะแก้ไขได้ พิจารณา
เห็นว่า ควรจะมีการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหานั้นให้หมดไป หรือเบาบางลง
ที่สุดก็อาจมีพฤติกรรมแสดงออก ซึ่งปฏิกิริยาต่อต้านดำเนินการขจัดปัญหานั้น
2.3.2 ลักษณะของปัญหาสังคม
ปัญหาสังคม มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1) ปัญหาสังคม เป็นสภาวการณ์ที่สมาชิกของสังคมไม่พึงปรารถนา หรือเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อสมาชิกถ้าปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่พิจารณาเห็นว่า เป็นสภาวะที่
ไม่ต้องการให้ปรากฏไม่อยากให้มี
2) เป็นสภาวการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมของคนจำนวนมากจน
เป็นเหตุให้เขาตกลงใจที่จะกระทำ การแก้ไขสถานการณ์นั้น เป็นสภาวการณ์ซึ่งคนจำนวนมาก
พอสมควร เห็นว่า เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม บางประการที่พวกเขายึดมั่น
สภาวการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ถูกต้อง การใช้แรงงานเด็กไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ตราบ
เท่าที่คนส่วนใหญ่ยังเห็นว่าเป็นประโยชน์ แต่ถ้า เมื่อไรคนส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า การใช้แรงงาน
เด็กเป็นการทารุณไม่เหมาะสม การใช้แรงงานเด็กก็จะกลายเป็นปัญหาสังคม ปัญหาสังคมจึง
เกี่ยวพันกับค่านิยมที่คนส่วนใหญ่ยึดถืออยู่ซึ่งแต่ละคนอาจจะเห็นว่า ดีหรือเลวก็ได้ ทั้งนี้ก็แล้ว แต่
ค่านิยมของแต่ละสังคมโดยสังคมหนึ่งอาจจะเห็นว่า ดี อีกสังคมหนึ่งอาจจะเห็นว่า เป็นการทารุณ
เช่น ในระยะเวลาในการปฏิรูป การตอกเล็บ การเผาคนทั้งเป็น การดึงแขนขาคนเป็นของธรรมดา
ในการลงโทษ ไม่มีการคัดค้านหรือการโต้แย้ง ไม่ถือเป็นปัญหาสังคม แต่ในสังคมปัจจุบัน ถือว่า
เป็นการทารุณโหดร้าย เป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่ควรนำมาใช้
3) ปัญหาสังคม เป็นสภาวการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมาก หรือเป็น
สภาวการณ์ที่เกิดขึ้นในขนาดมากพอที่จะกระตุ้นคนจำนวนมากให้เกิดความรู้สึกเดือดร้อน
สภาวการณ์นั้นจะต้องกระทบกระเทือนบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมากพอสมควร ปกติ
สัตว์เลี้ยงที่ใครเลี้ยงก็ตาม แม้จะดุร้ายเพียงไร ก็จะไม่เป็นปัญหาสังคม เว้นแต่จะก่อความ
เดือดร้อนกับคนหมู่มาก และมากขนาดไหนถึงจะเป็นปัญหาสังคม ซึ่งก็ไม่มีตัวเลขที่แน่นอน
พอที่จะชี้ลงไปแต่ถ้าสภาวการณ์นั้น มีผลทำให้คนกลุ่มหนึ่งเริ่มตั้งข้อสังเกตกล่าวขวัญ ถึง เขียนถึง
หรือทักท้วงถึงก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาสังคมและวิธีหนึ่งที่พอจะวัดได้ว่าสภาการณ์นั้น
กระทบกระเทือนส่วนรวมแค่ไหน ซึ่งก็ดูได้จากความถี่ของบทความในนิตยสารที่กล่าวถึงในแต่ละ
ปี ถ้าออกมาในรูปบทความมากก็แสดงว่าสภาวการณ์นั้นเป็นที่น่าสนใจอย่างกว้างขวาง และ
กลายเป็นปัญหาสังคม สภาวการณ์ที่มีการละเมิดระเบียบสังคมที่มีอยู่ และการละเมิดนี้กว้างขวาง
จนสังคมส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมแก้ไขได้ ในทันที ตัวอย่าง แม้ว่าคนลักขโมยจะมีอยู่ในทุก
สังคม แต่ถ้า สังคมสามารถควบคุมปราบปรามได้ทันทีทุกครั้งที่มีผู้ละเมิดเช่นนี้ การลักขโมยก็ไม่
ถึงกับทำ ให้ระเบียบสังคมโดยทั่วไปต้องเสียหาย และไม่มีใครรู้สึกว่า เป็นปัญหาของสังคม แต่ถ้า
การลักขโมยมีแพร่หลายขึ้น และเลยเถิดไปจนเป็นการชิงทรัพย์ ปล้นสะดม ฆ่าเจ้าทรัพย์ทุกแห่ง
หน และเจ้าหน้าที่ซึ่งสังคมมอบหมายอำนาจหน้าทีไว้ให้คอยควบคุมปราบปรามผู้ละเมิดระเบียบ
ของสังคมแหล่านี้ไม่สามารถควบคุมปราบปรามได้สำเร็จ ความวุ่นวายที่เกิดจากการลักขโมย
ปล้น สะดมนี้เป็นที่รู้สึกอึดอัดใจของคนส่วนใหญ่ในสังคมก็กลายเป็นปัญหาสังคม
4) เป็นสภาวการณ์ที่สังคมเห็นว่า สามารถจะปรับปรุงแก้ไขให้หมดไป หรือบรรเทา
ลงได้เป็นสภาวการณ์ที่จะต้องมีการกระทำ การบางสิ่งบางอย่างเพื่อแก้ไข จะปล่อยทิ้งไว้ไม่ให้เกิด
ความรู้สึกว่า ควรจะได้มีการแก้ไขปรับปรุง เมื่อมีบุคคลจำนวนมากในสังคมรู้สึกว่า ควรจะมีการ
กระทำ บางอย่าง เพื่อที่จะได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น ปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม และ
ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบัน คนมีความรู้สึกตื่นตนกมากที่จะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้มีการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้ใช้เป็นประโยชน์ได้สูงสุด เป็นความรู้สึกร่วมของคนในสังคม
ทั่วไปตั้งแต่ในระดับโลกระดับประเทศจนถึงระดับชุมชนท้องถิ่นว่าควรจะมีการแก้ไข
ปรับปรุงจากผู้เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ตลอดจนมีการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักรู้และร่วมมือกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งต้นน้ำลำธารป่าไม้และพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เพื่อการเพาะปลูกเป็นต้น
ซึ่งเรื่องนี้สืบเนื่องมาจากการที่คนในสังคมตระหนักรู้ถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของ
ทรัพยากรธรรมชาตินั้นเอง ถึงแม้ว่าจะไม่กระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยตรงแต่มองเห็นว่าเป็น
ปัญหาของส่วนรวมที่รู้สึกว่า จะต้องแก้ไขบุคคลจำนวนหนึ่งซึ่งมีจำนวนมากพอรู้สึกว่าควรจะมี
การกระทำอย่างเพราะสิ่งต่างๆ จะเป็นปัญหาได้ก็ต่อเมื่อเราค้นพบว่าสามารถป้องกันได้ เช่น
น้ำ ท่วมซึ่งแต่ก่อนก็เชื่อว่า น้ำท่วมเป็นเรื่องของเคราะห์กรรมที่จะต้องผจญกันไป แต่ปัจจุบันมี
วิธีการควบคุมดินฟ้าอากาศ เช่น การปลูกป่าให้ซับน้ำ สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมมีความเห็นพ้อง
ต้อกันว่า สมควรจะได้หาวิธีการหรือมาตรการบางอย่างเพื่อแก้ไขปัญหา หรือสภาวการณ์ที่
เกิดขึ้น เช่น คนส่วนใหญ่มีความเห็นพ้องกันว่าสมควรจะได้มีการแก้ไขปัญหาจราจรโดยรีบด่วน
โดยเฉพาะสภาพจราจรติดขัด
5) มีการร่วมมือกัน ในหมู่สมาชิกของสังคมในอันที่จะขจัดแก้ไขป้องกันมี
การแสดงออกในรูปของการกระทำร่วมกัน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในสังคมแล้วสมาชิกส่วนใหญ่ของ
สังคมที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหาดังกล่าวได้พากัน แสดงความคิดเห็นเสนอแนะเลือกหาวิธีแก้ไข
หรือการรวมกลุ่มกันเพื่อกำจัดปัญหาดังกล่าว
6) เป็นสภาวการณ์ที่ซับซ้อน เป็นเรื่องที่ผู้คนพากันห่วงใยและนำมา
วิพากษ์วิจารณ์อภิปรายกัน และการแก้ไขนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่ายในสังคม
ช่วยกันถ้าเป็นเพียงผู้ใดผู้หนึ่ง เช่นพ่อค้า ขายของส่งเสียรบกวนชาวบ้า น เพียงแต่ตำรวจจับกุม
พ่อค้าไปลงโทษตามกฎหมายที่หมดปัญหาลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นปัญหาสังคม
7) เป็นสภาวการณ์ที่มีอยู่จริงในสังคม และคนในสังคมนั้น กำหนดให้เป็น
ปัญหาสังคมอาจเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ ความต้องการขั้นมูลฐานของประชาชนในสังคมไทย คือ
ปัจจัย 4 อาหาร ที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ขาดรายได้ ขาด
แคลนสิ่งปรารถนาเบื้องต้น เกิดปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาอาชญากรราก็ถือว่า เป็นปัญหาสังคม
2.3.3 ประเภทของปัญหาสังคม
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2526 อ้างถึงในโกศล วงศ์สวรรค์ และสถิต วงศ์สวรรค์
,2543) แบ่งปัญหาสังคมออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ปัญหาเกี่ยวกับ ความสัมพัน ธ์ระหว่า งปัจเจกชนกับสังคมหรือปัญหาการ
ปรับตัวของปัจเจกชนให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของสังคมตัวอย่างเช่น ปัญหาคนชรา
ปัญหาวัย รุ่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบน ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคจิต ฯลฯ
2) ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพัน ธ์ระหว่า งกลุ่มต่อกลุ่ม หรือการจัดระเบียบ
ภายในสังคม ตัวอย่างเช่น ปัญหาการขัดแย้งระหว่างศาสนิกชนต่างศาสนา (เช่นกรณีวัด
พระธรรมกาย) กรรมกรกับนายทุน ปัญหาสีผิว ปัญหาการขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ปัญหาแหล่ง
เสื่อมโทรม ปัญหาสภาวะแวดล้อม ปัญหาโรงงานกับ ชาวบ้า น
การพิจารณาตามโครงการสร้างของสังคมจัด แบ่งได้ 3 ระดับ คือ
1. ระดับ ความสัมพัน ธ์ระหว่า งบุคคล เช่น ปัญหาครอบครัวแตกแยก
2. ระดับ กลุ่มคนหรือสังคม เช่น ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาการว่างงานในเมือง
ปัญหาความไม่ปลอดภัย และขาดสวัสดิการ ปัญหาความล้าหลังทางวิชาการและเทคนิคของสังคม
ชนบท
3. ระดับ ชาติและระดับโลก ได้แก่ ปัญหามลพิษ ปัญหาความยากจน ปัญหาการฉ้อ
ราษฎร์บังหลวง ปัญหาภัยสงคราม เป็นต้น
Weinburg (1995 อ้างถึงในโกศล วงศ์สวรรค์ และสถิต วงศ์สวรรค์, 2543) พิจารณา
ปัญหาสังคมจากลักษณะสังคมเมืองที่ซับ ซ้อนสับสนในปัจจุบัน ได้แบ่งแบบของปัญหาสังคมเป็น
2 ประเภท คือ
1. ปัญหาสังคมที่สื่บเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี อัน มีผลทำให้เมือง
เล็กขยายตัวเป็นนครใหญ่และนครอุตสาหกรรม ปัญหาที่เกิดขึ้นมีผลกระทบมวลชนในสังคม
ได้แก่
1.1 ปัญหาประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
1.2 ปัญหาการอพยพของชาวชนบทเข้า สู่เมือง
1.3 ปัญหาความไม่เพียงพอของที่อยู่อาศัยและแหล่งเสื่อมโทรม
1.4 ปัญหาการวางผัง เมืองไม่เหมาะสม
1.5 ปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติ
1.6 ปัญหาความไม่สะดวกของการคมนาคมขนส่ง
1.7 ปัญหาอุบัติเหตุโดนรถยนต์
1.8 ปัญหาสภาวะแวดล้อมเป็นพิษ
1.9 ปัญหาการว่างงาน
1.10 ปัญหาคนชราถูกทอดทิ้ง
1.11 ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
2. ปัญหาที่สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมเบี่ยงเบนและการเสียระบบทางสังคม ได้แก่
2.1 ปัญหาการหย่าร้าง
2.2 ปัญหายุวอาชญากรรม
2.3 ปัญหาอาชญากรรม
2.4 ปัญหาความผิดปกติทางจิต
2.5 ปัญหาสารเสพติด
2.6 ปัญหาการฆ่าตัวตาย
2.7 ปัญหาโสเภณี
ที่กล่าวถึงและแบ่งประเภทปัญหาสังคม มี 3 ประเภท ดังนี้
1. ปัญหาทางเศรษฐกิจ ได้แก่ภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่คนในสังคมเป็นจำนวนมาก
รู้สึกว่าคุกคามคุณค่าของคน และต้องการจะแก้ไขให้ดีขึ้น หรือขจัด ให้หมดไป เพราะเชื่อว่า คน
หรือสังคมสามารถแก้ไขได้ เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ เกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบ เงินเพ้อ เครื่อง
อุปโภคบริโภคราคาแพง คนตกงาน ความอดอยากยากจน ฯลฯ
2. ปัญหาทางการเมือง ได้แก่ ภาวการณ์ทางการเมืองที่คนในสังคมจำนวนมากรู้สึกว่า
คุกคามคุณค่าของคน และต้องการจะแก้ไ ขให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลงเพราะเชื่อว่าสามารถแก้ไข
ได้ นักการเมืองใช้อิทธิพลอำนาจ หน้า ที่แสวงหาผลประโยชน์ โอบอุ้ม ช่วยเหลือญาติมิตร สมัคร
พรรคพวก ใช้อภิสิทธิ์เหนือประชาชนทั่วไป การคอรัปชั่น ปัญหาโจรและผู้ก่อร้ายภาคใต้
นักการเมืองแย่งชิงตำแหน่งกัน
3. ปัญหาทางสังคม ได้แ ก่ ภาวการณ์เกี่ยวกับความสัมพัน ธ์ระหว่างบุคคลที่คนใน
สังคมเป็นจำนวนมากรู้สึกว่าคุกคามต่อคุณค่าของตน จึงต้องการแก้ไขโดยเห็นว่าการกระทำ เช่นนั้น
อยู่ในวิสัยของกลุ่มหรือสังคมของตนเองจะทำได้ เช่น ปัญหายาเสพติด สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
อาชญากรรม ปัญหาวัยรุ่น โจรผู้ร้ายชุกชุม การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากร

ความหมายของยาเสพติด

               ความหมายโดยทั่วไปหมายถึง สารหรือยาที่อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือรับเข้าสู่ร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่าโดยวิธีการใดๆ เป็นช่วงระยะๆหรือนานติดต่อกันก็ตามจะทำให้บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของสารนั้น ทางด้านจิตใจหรือรวมทั้งทางด้านร่างกายและอาจต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้สุขภาพของผู้เสพนั้นเสื่อมโทรมลง ประการสำคัญเมื่อถึงเวลาเสพแล้วไม่ได้เสพและจะมีอาการผิดปกติทางด้านจิตใจหรือรวมทั้งทางด้านร่างกาย เมื่อไม่ได้เสพ
               ความหมายของเภสัชกรคือสิ่งที่ก่อให้เกิดพิษเรื้อรังและปรากฏอาการของโรคอย่างชัดเจนภายหลังเมื่อหยุดเสพแต่ความหมายในทัศนะของนักสังคมสงเคราะห์คือสิ่งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนในสังคมความหมายในทัศนะของนักกฎหมาย คือ สิ่งที่ทำให้เกิดพิษและพิษของมันเป็นต้นเหตุของอาชญากรรม ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงพอให้ความหมายโดยทั่วไปและความหมายตามกฎหมายดังนี้               ความหมายตามพระราชบัญญัติ พ..2522 “ยาเสพติดให้โทษหมายถึง ยา หรือ สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆหรือพืช ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธี กิน ดม สูบ หรือ ฉีดแล้วจะทำให้เกิดผลต่อร่างกาย และจิตใจ ในลักษณะสำคัญดังนี้


1. ต้องเพิ่มขนาดการเสพมากขึ้นเรื่อยๆ
2. มีความต้องการเสพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา
3. เมื่อถึงเวลาเสพแต่ไม่ได้เสพจะมีอาการขาดยา
4. สภาพร่างกายโดยทั่วไปจะทุดโทรมลง

ชนิดของยาเสพติด
ยาเสพติดสามารถแบ่งได้ตามลักษณะดังนี้

. แบ่งตามแหล่งที่เกิดได้
               1. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตได้มาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา
               2. ยาเสพติดสังเคราะห์  (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน

. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ..2522ได้แก่
               ประเภทที่1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงไม่มีประโยชน์ทางด้านการแพทย์ เช่น เฮโรอีน(Heroin) แอมเฟตามีน (Amphetamine) เมทแอมเฟตามีน(Metham phetamine) แอลเอสดี(LSD) เอ็คซ์ตาซี(Ecstasy) หรือ MDMA
               ประเภทที่2 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น (Opium) มอร์ฟีน (Morphine)โคเคนหรือโคคาอีนเมทาโดน (Methadone)
               ประเภทที่3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนผสมอยู่
               ประเภทที่4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 หรือ ประเภทที่ 2 เช่น อะเซติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride) อะเซติลคลอไรด์ (Acetylchloride) เอทิลิดีนไดอาเซเตด (Ethylidinediacetate) ไลเซอร์จิค อาซิค (Lysergic Acid)
               ประเภทที่5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้อยู่ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 4 เช่น พืชกัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น (ซึ่งหมายความรวมถึงพันธ์ฝิ่น เมล็ดฝิ่น กล้าฝิ่น ฟางฝิ่น พืชเห็ดขี้ควาย)

. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทได้แก่
               1. ยาเสพติดประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท สารระเหย
               2. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน
               3. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย
               4. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน (อาจ กด กระตุ้น หรือหลอนประสาทร่วมกัน) เช่นกัญชา

. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก
องค์การอนามัยโลกได้จัดแบ่งยาเสพติดไว้ 9 ประเภท ได้แก่
1.                 ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีนรวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีนเพทิดีน
2.                 ประเภทบาบิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน เช่น เซโคบาร์บิตาล   อะโมบาร์บิตาล พาราดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม คลอไดอาซีพอกไซด์
3.                 ประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้
4.                 ประเภทแอมเฟตามีน เช่น แอมเฟตามีน เดกซ์แอมเฟตามีน
5.                 ประเภทโคเคน เช่น โคเคน ใบโคเคน
6.                 ประเภทกัญชา เช่น ใบกัญชา ยางกัญชา
7.                 ประเภทคัท เช่นใบคัท ใบกระท่อม
8.                 ประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีอ็มที เมสคาลีน เมล็ดมอร์นิ่งโกลลี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด
9.                 ประเภทอื่นๆ เป็นพวกไม่สามารถเข้าประเภทใดได้ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด บุหรี่

ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย

ฝิ่น(Opium)


              ฝิ่น เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมายประกอบด้วยโปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์ เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรงแอลคะลอยด์ ในฝิ่นแบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ
               ประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมา และเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรงแอลคะลอยด์ประเภทนี้ทางเภสัชวิทยา ถือว่า เป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic)      แอลคะลอยด์ที่เป็นสารเสพติดซึ่งออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน (Morphine)
               ประเภทที่ 2 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนคลายตัว  ซึ่งทางเภสัชถือว่า       แอลคะลอยด์ ในฝิ่นประเภทนี้ ไม่เป็นสารเสพติด แต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหย่อนคลายตัว ซึ่งมีปาเวอร์รีน (Papaverine)เป็นตัวสำคัญ
               ฝิ่นเป็นพืชล้มลุกขึ้นในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 ฟุตขึ้นไป เป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของยาเสพติดร้ายแรง เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีนและโคเดอีน มีการลักลอบปลูกฝิ่นมากทางเหนือของประเทศไทย บริเวณแนวพรมแดนที่เรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ
               เนื้อฝิ่นได้มาจากยางของผลฝิ่น ที่ถูกกรีดจะมีสีขาว เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลง กลายเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียว และรสขมเรียกว่า ฝิ่นดิบ ส่วนฝิ่นที่มีการนำมาสูบเรียกว่า ฝิ่นสุก ได้มาจากการนำฝิ่นดิบไปต้มหรือเคี้ยวให้สุก

ฤทธิ์ในทางเสพติด
               - ฝิ่นออกฤทธิ์กดประสาท
               - มีอาการเสพติดทางร่างกายและจิตใจ
               - มีอาการขาดยาทางร่างกาย

อาการผู้เสพ
               จิตใจเลื่อยลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิว   ชีพจรเต้นช้า

โทษทางกฎหมาย
               จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ..2522

ศัพท์ในวงการยาเสพติด
หมู  หมายถึง ฝิ่นที่คลุกยาฉุน ยาเส้น ใบพลู ใบจาก หรือกัญชาใช้ม้วนสูบด้วยกล้อง
จ๊อย  หมายถึง หน่วยนับที่ใช้เรียกกับฝิ่น เช่นฝิ่น 1 จ๊อย น้ำหนักประมาณ 1.6 กิโลกรัม







มอร์ฟีน(Morphine)

  มอร์ฟีน เป็นแอลคะลอยด์(Alkaloid) ของฝิ่นที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้ฝิ่นมีฤทธิ์เดชแห่งความมึนเมา ชาวเยอรมันชื่อ SERTURNER เป็นผู้สกัดจากฝิ่นเมื่อปี ค..1803(..2346) ได้เป็นครั้งแรกฝิ่นชั้นดี จะมีมอร์ฟีนประมาณ 10%-16% ฝิ่นหนัก 1 ปอนด์นำมาสกัดจะได้มอร์ฟีนประมาณ 0.22 ออนซ์ หรือ 6.6 กรัม มอร์ฝีนมีลักษณะ 2 รูปคือ รูปอิสระ (Free) และรูปเกลือ (Salt) สำหรับที่มีลักษณะเป็นรูปของเกลือ ได้แก่ ซัลเฟท (Sulfate) ไฮโดรคลอไรด์  (Hydrochloride) อาซิเตท (Acetate) และทาร์เตรท (Tartrate)มอร์ฟีนรูปเกลือที่นิยมทำมากคือ Sulfate ในปัจจุบันมอร์ฝีนสามารถทำขึ้นได้โดยการสังเคราะห์ด้วยกรรมวิธีทางเคมีแล้ว
               มอร์ฝีน เป็นผงสีขาวหรือเทาเกือบขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขม มีฤทธิ์สูงกว่าฝิ่น เสพติดได้ง่าย มีลักษณะเป็นเม็ด เป็นผง และเป็นก้อน หรือละลายหลอดบรรจุหลอดสำหรับฉีด นำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีฉีดเป็นส่วนมากมอร์ฟีนใช้เป็นยาหลักหรือมาตรฐานของยาแก้ปวด ยาจำพวกนี้กดระบประสาทส่วนกลาง ลดความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้รู้สึกง่วงหลับไป และลดการทำงานของร่างกายอาการข้างเคียงอื่นๆ ก็คือ อาจทำให้คลื่นเหียนอาเจียน ท้องผูก เกิดอาการคันบริเวณใบหน้า ตาแดงเพราะโลหิตฉีด ม่านตาดำหดตีบ และหายใจลำบาก

ฤทธิ์ในทางเสพติด
               - มอร์ฟีนนออกฤทธิ์กดระบบประสาท
               - มีอาการเสพติดทางร่างกายและจิตใจมีอาการขาดยาทางร่างกาย

อาการผู้เสพ
               คลื่นเหียนอาเจียน ท้องผูก เกิดอาการคันหน้า ตาแดง ซึม ง่วงนอน ไม่สนใจ   สิ่งแวดล้อม

โทษทางกฎหมาย
               จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ..2522

ประโยชน์ของมอร์ฟีนในทางการแพทย์
               โดยที่มอร์ฟีนนออกฤทธิ์กดศูนย์ประสาทสมองส่วน Cerebral Cortex ดังนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงสามารถนำมอร์ฟีนมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย การใช้มอร์ฟีนก็เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยลดความเจ็บป่วยลดความเจ็บปวดได้ ดังนี้
1.                 ช่วยยกระดับความอดกลั้น ต่อความรู้สึกเจ็บปวดให้สูงขึ้น จึงทำให้ช่วยรับความรู้สึกด้านเจ็บปวดน้อยลงเพราะฤทธิ์มอร์ฟีนไปกดประสาทส่วนรับความรู้สึกดังนั้นถ้าความเจ็บปวดของร่างกายเป็นขนาดกลางความเจ็บปวดนั้นจะหายไปได้ แต่ถ้าความเจ็บปวดนั้นขนาดสูงเช่น ปวดเสียดแทง หรือปวดจี๊ด ฤทธิ์ของมอร์ฟีนก็จะไปกดประสาททำให้เปลี่ยนเป็นความเจ็บปวดแบบตื้อหรือปวดชาๆ ไม่รุนแรงเท่าเดิม ผู้ป่วยจึงทนต่อความเจ็บปวดได้
2.                 ช่วยยกระดับอารมณ์ของผู้ป่วยให้สูงขึ้น โดยปกติผู้ป่วยที่มีความเจ็บจะมีอารมณ์เศร้าหมอง และหดหู่ไม่เบิกบาน เมื่อแพทย์ให้มอร์ฟีนเข้าไปกดระบบประสาททำให้เกิดความรู้สึกมึนชาลดความเจ็บปวดลงได้ เป็นเหตุทำให้เกิดความสบายอารมณ์ขึ้น
3.บ้างช่วยขจัดความวิตกกังวล ห่วงใย และความหวาดกลัวให้หมดไป โดยที่ฤทธิ์ของมอร์ฟีนเข้าไปกดประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ประสาท ซิมพาเตติค ทำให้อวัยวะใน ร่างกายทำงานน้อยลง เท่ากับเป็นการพักผ่อนของร่างกาย ช่วยให้เกิดความผาสุกทางด้านจิตใจ จึงขจัดความวิตกกังวลและความหวาดกลัวลงได้

เฮโรอีน(Heroin)

เฮโรอีน เป็นยาเสพติดที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมีจากปฏิกิริยาระหว่างมอร์ฟีนกับสารเคมีบางชนิด เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride)หรือ อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl chloride)หรือเอทิลิดีนไดอาเซเตต (Ethylidene diacetate) โดยนักวิจัยชาวอังกฤษ ชื่อ C.R. Wright ได้ค้นพบวิธีการสังเคราะห์ เฮโรอีนจากมอร์ฟีนโดยใช้น้ำยาอาเซติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride)และบริษัทผลิตยาไบเออ (Bayer) ได้นำมาผลิตเป็น     ยาออกสู่ตลาดโลก ในชื่อทางการค้า”Heroin” และนำมาใช้แทนมอร์ฟีนอย่างแพร่หลาย หลังจากที่มีการใช้เฮโรอีนในวงการแพทย์นานถึง 18 ปี จึงทราบถึงอันตรายและผลที่ทำให้เกิดการเสพติดที่ให้โทษอย่างร้ายแรงจนปี พ..2467 (..1924) ประเทศสหรัฐอเมริกา    ได้ออกกฎหมายระบุให้เฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษห้ามมิให้ผู้ใดเก็บไว้ในครอบครอง
               หลังจากนั้นต่อมาอีก 35 ปี คือเมื่อ พ..2502 เฮโรอีนจึงได้แพร่ระบาดสู่ประเทศไทยจึงออกกฎหมายให้เฮโรอีนและมอร์ฟีนเป็นยาเสพย์ให้โทษ
               เฮโรอีนออกฤทธิ์แรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 4-8 เท่า และออกฤทธิ์แรงกว่าฝิ่น ประมาณ 30-90 เท่า โดยทั่วไปเฮโรอีน จะมีลักษณะเป็นผงสีขาว สีนวล หรือสีครีม มีรสขม ไม่มีกลิ่นและแบ่งได้เป็น 2 ประเภท เช่นเดียวกับมอร์ฟีน ได้แก่ เฮโรอีนเบส (Heroin base) ซึ่งมีคุณลักษณะเด่นคือไม่ละลายในน้ำ ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือเกลือของเฮโรอีน (Heroin salt) เฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ (Heroin hydrochloride)

เฮโรอีนที่แพร่ระบาดในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ
1.                 เฮโรอีนผสมหรือเรียกว่าเฮโรอีนเบอร์ 3 หรือไอระเหย เป็นเฮโรอีนที่มีความ
บริสุทธิ์ต่ำ เนื่องจากมีการผสมสารอื่นเข้าไปด้วย เช่นผสม สารหนู สตริกนิน ยานอนหลับ คาเฟอีน แป้ง น้ำตาลและอาจผสมสี เช่นสีม่วง สีชมพูอ่อน สีน้ำตาล อาจพบในลักษณะเป็นผง เป็นเกล็ดหรืออัดเป็นก้อนเล็ก ๆ มีวิธีการเสพโดยสูดเอาไอสารเข้าร่างกาย จึงเรียกว่าไอระเหยหรือ แคป
2.                 เฮโรอีนเบอร์4 เป็นสารเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ที่มีความบริสุทธิ์สูง มีลักษณะเป็นผงละเอียด หรือเป็นคล้ายเมล็ดไข่ปลา หรือพบในลักษณะอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีสีขาว หรือสีครีมไม่มีกลิ่น มีรสขมเป็นที่รู้จักทั่วไปว่าผงขาวมักเสพโดยนำมาละลายน้ำแล้วฉีดเข้าร่างกายหรือผสมบุหรี่สูบ
อาการผู้เสพ
1. มีอาการปวดกล้ามเนื้อกระดูก ปวดตามข้อ ปวดสันหลัง ปวดบั้นเอว ปวดหัวรุนแรง
2. มีอาการจุกแน่นในอก คล้ายใจจะขาด อ่อนเพลียอย่างหนักหมดเรี่ยวแรง มีอากาศหนาว ๆ ร้อน ๆ อึดอัดทุรนทุราย นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย บางรายมีอาการชักตาตั้งน้ำลายฟูมปาก ม่านตาดำหดเล็กลง
3. ใจคอหงุดหงิด ฟุ้งซ่าน มึนงง หายใจไม่ออก
4. ประสาทเสื่อมความจำเสื่อม

โทษทางร่างกาย
               1. โทษต่อผิวหนังเป็นอาการที่ทำให้เส้นเลือดใต้ผิวหนังเกิดการขยายตัวเกิดเป็นตุ่มแดงเล็กๆ ขึ้นบริเวณผิวหนัง เกิดการขยายตัว เกิดเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ ขึ้นบริเวณ       ผิวหนัง และกระตุ้นสารฮิสตามีน (Histamine) และกระตุ้นต่อมเหงื่อด้วยอาการนี้พบเห็นได้ หลังจากเสพเฮโรอีนใหม่ๆ จะมีอาการคันใต้ผิวหนังนอกจากนี้ ผู้เสพจะมีเหงื่อออกมากกว่าปกติและขนลุก
               2. โทษต่อลำไส้ ทำให้ลำไส้บิดตัวน้อยลงผู้เสพจะมีอาการท้องผูก
               3. กดศูนย์การหายใจ ทำให้หายใจช้ากว่าปกติ ถ้าใช้ในปริมาณมากจะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ทำลายฮอร์โมนเพศ ถ้าผู้เสพเป็นเพศหญิงจะทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ถ้าผู้เสพเป็นผู้ชายจะทำให้ฮอร์โมนเพศลดลง ไม่มีความรู้สึกต้องการทางเพศ
               4. ทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย ผู้เสพติดจึงมีโอกาสติดได้ง่ายอาการที่พบเห็นได้ง่ายคือผิวหนังมีอาการติดเชื้อโรคได้ง่ายอาการที่พบเห็นภายนอกคือผิวหนังมีอาการติดเชื้อ เป็นแผลพุพอง ติดเชื้อวัณโรค ติดเชื้อโรคตับอักเสบ นอกจากนี้ผู้เสพเฮโรอีนจะทำให้ติดโรคเอดส์ได้ง่ายกว่าปกติเพราะผู้เสพมักใช้เข็มฉีดยาที่ไม่ได้ทำความสะอาด หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกันจนทำให้ติดเชื้อ HIV.
               ผู้เสพเฮโรอีนที่ติดเชื้อ HIV.ก็จะเป็นผู้แพร่ระบาด HIV.เนื่องจากการจับกลุ่มใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือบางครั้งก็มีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ป้องกัน

ฤทธิ์ในทางเสพติด
               เฮโรอีนออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทางด้านร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางด้านร่างกายอย่างรุนแรง

โทษทางกฎหมาย
               จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดโทษ         พ.. 2522
ศัพท์ในวงการยาเสพติด
               โช้ค หมายถึง การเสพเฮโรอีนโดยวิธีฉีดเข้าสู่ร่างกายทางเส้นเลือดครั้งหนึ่งก่อนแล้วดูดเลือดออกมาใหม่เพื่อล้างคราบเฮโรอีนที่ยังหลงเหลือในหลอดสลิงค์ให้หมดแล้วฉีดเข้าไปอีกครั้ง
               สอย  หมายถึง การสูบเฮโรอีนโดยวิธีสอดใส่บุหรี่หรือใช้ปลายบุหรี่จิ้มสูบ

การบรรจุเฮโรอีน
การบรรจุเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายนั้น มีลักษณะการบรรจุดังนี้
               1. ตัว คือ เฮโรอีนบรรจุในหลอดกาแฟ หรือกระดาษปิดหัวท้ายยาว 1 นิ้ว ใน 1 ตัว มีเนื้อเฮโรอีนประมาณ 50 มิลลิกรัม
               2. ฝา คือ ฝาของบิ๊ก 1 ฝา จะมีขาดยา 1ใน 5 ของบิ๊ก นั้นๆ เช่น ฝาเบอร์ 5 จะมีเฮโรอีนประมาณ 200 มิลลิกรัม ฝาบิ๊กเบอร์ 3 จะมีเฮโรอีนประมาณ 100 มิลลิกรัม
               3. บิ๊ก คือ เฮโรอีนที่บรรจุในหลอดใส่ยาเรียกตามขนาดของหลอดที่ใช้ เช่น บิ๊กเบอร์ 5 ใช้หลอดเบอร์ 5 แต่ถ้าใช้บิ๊กเบอร์ 6 เรียกบิ๊กเบอร์ 3 เป็นครึ่งหนึ่งของบิ๊กเบอร์ คือจะมีเฮโรอีนประมาณ 500 มิลลิกรัม
               4. ใส่กระบอกฉีดยาขนาด 5 ซีซี ขนาดของเฮโรอีนนั้นไม่ทราบแน่นอนส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 60-70 เปอร์เซ็นต์ ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ กระบอกที่ใช้มักไม่สะอาด น้ำที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้น้ำประปามีส่วนน้อยที่ใช้น้ำกลั่น ถ้ามีอาการอยากยามากจะไม่คำนึงถึงความสะอาด อาจใช้น้ำคลองหรือน้ำอะไรก็ได้ ที่หาได้ในขณะนั้น

การออกฤทธิ์ของยาเสพติด
               ยาเสพติดประเภทกดประสาท(Depressant) จะออกฤทธิ์กดประสาทและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายของผู้เสพดังนี้
1. ออกฤทธิ์ต่อประสาทสมอง ส่วนกลาง ซีรีเบริล คอร์เทค (Cerebral Cortex) โดยจะกดศูนย์ประสาทสมอง ส่วนที่รับความรู้สึกมึนชา ทำให้ขาดความตั้งใจ ขาดความกระตือรือร้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดอาการทางด้านจิตใจเปลี่ยนแปลงไป
2. ออกฤทธิ์ต่อประสาทสมองส่วนเมดัลลารี่ (Medullary Centers) ทำให้ไป   กดศูนย์ประสาทสมองส่วนการหายใจ ทำให้หายใจช้าจะทำให้การเต้นของหัวใจช้าลง
3.                 ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้ปรากฎอาการเปลี่ยนแปลงในระบบต่างๆของร่างกายผู้เสพ ดังนี้

               -  ต่อระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinaltract) ทำให้กล้ามเนื้อเกี่ยวกับทางเดินอาหารทำงานสูงขึ้น เพื่อที่จะบังคับให้อุจจาระผ่านออก และถ้าแรงขับของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารทำงานสูงขึ้น อาจจะมีการทำให้เคลื่อนไหวในทางตรงข้าม ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเกิดขึ้นได้
               - ต่อระบบขับปัสสาวะ (Urinary tract) ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะหดตัวทั้งๆที่ กล้ามเนื้อปัสสาวะยากกว่าปกติ
               - ต่อระบบการไหลเวียนของโลหิต (Circulation) ทำให้เส้นเลือดในช่องท้องหดตัวทำให้การไหลเวียนของโลหิตในร่างกายไม่เป็นไปตามปกติ จะเห็นได้ว่าผู้ติดยา    เสพติดประเภทนี้จะตัวเหลือง อันเนื่องมาจาก โลหิตไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงร่างกายไม่ปกติโลหิตฝอยปลายทั่วไปขยายตัว

อาการขาดยา
               จะเริ่มหลังจากได้รับยาครั้งสุดท้าย 4-10 ชั่วโมงแล้วไม่สามารถหายามาเสพได้อีกจะมีอาการกระวนกระวาย หงุดหงิด โกรธง่าย ตื่นตกใจง่าย หาวนอนบ่อย ๆ น้ำมูกน้ำตาไหล น้ำลาย และเหงื่อ ออกมาก ขนลุก กล้ามเนื้อกระตุก ตัวสั่น ม่านตาขยาย ปวดหลังและขามาก ปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน บางรายมีอาการรุนแรงถึงขนาดถ่ายเป็นเลือดที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าลงแดงผู้ติดยาจะมีความต้องการยาอย่างรุนแรงจนขาดเหตุผลที่ถูกต้องอาการขาดยานี้จะเพิ่มขึ้นในระยะ 24 ชั่วโมงแรก และจะเกิดมากที่สุด ภายใน 48-72 ชั่วโมง และหลังจากนั้นอาการจะค่อยๆลดลง

การเลิกเสพเฮโรอีน
               การเลิกเสพเฮโรอีนนั้นจะต้องทำภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพราะการเลิกเสพจะทำให้เกิดอาการถอนยามีอาการตั้งแต่จาม เป็นตะคริว หนาวสั่น อาเจียน ไปจนถึงชักหมดสติและอาจถึงตายได้หากไม่ได้รับการรักษา
               ปัจจุบันในหลายประเทศมีความพยายามที่จะศึกษาหาวิธีการควบคุมการถอนยา และทำให้ความทรมานนั้นลดลง ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการลดยาอย่างค่อยเป็นค่อยไปหรือการลดยาที่มีอันตรายน้อยกว่า เช่น เมธาโดน หลังจากนั้นจึงค่อยๆถอนยาเหล่านี้ไปช้าวิธีการรักษาแบบนี้จะช่วยให้ผู้เลิกยามีอาการถอนยาอย่างไม่รุนแรง เช่น อาจมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เท่านั้น แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือ ทำอย่างไรจึงจะป้องกันไม่ให้ผู้ที่เพิ่งเลิกยาหันกลับไปเสพอีก
               ผู้ที่ต้องการเลิกเสพเฮโรอีนและยาเสพติดอื่นๆ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำและฟื้นฟูผู้มีปัญหาเกี่ยวกับ          ยาเสพติด กทม. ศูนย์อาสาสมัครยาเสพติด สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย, ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดประเวศ และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดในภาคต่างๆ


โคเคน(Cocaine)







               โคเคน หรือ โคคาอีน เป็นยาเสพติดที่สกัดได้จากใบของต้นโคคา ซึ่งเป็นต้นไม้ที่นิยมลักลอบปลูกมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ เช่น เปรู โบลิเวีย และโคลัมเบีย เป็นต้น ในใบโคคาจะมีโคเคนอยู่ประมาณ 2%โคเคนมีชื่อเรียกในกลุ่มผู้เสพว่า COKE, SNOW, SPEED BALL, CRACK โคเคนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ โคเคนเบส (Cocaine base) และเกลือโคเคน เช่น โคเคนไฮโดรคลอไรด์ (Cocaine hydrochloride) และโคเคนซัลเฟต        (Cocaine sulfate) โคเคนที่พบในประเทศ มี 2 ชนิด ได้แก่
1.โคเคนชนิดผงมีลักษณะเป็นผง ละเอียดสีขาว รส ไม่มีกลิ่น
2.โคเคนรูปผลึกเป็นก้อน (Free base, Crack)

วิธีการเสพ
1.                 การสูดโคเคนผงเข้าทางจมูก หรือเรียกว่า การนัตถุ์
2.                 การละลายน้ำฉีดเข้าเส้นเลือดดำ
3.                 การสูดควัน

ฤทธิ์ในทางเสพติด
               - โคเคนออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท
               - มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อยขึ้นอยู่กับวิธีการและปริมาณที่เสพ
               - มีอาการทางจิตใจ
               - มีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง

อาการผู้เสพ
               หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูงกระวนกระวายตัวร้อนมีไข้นอนไม่หลับ         มีอาการซึมเศร้า
โทษที่ได้รับ
               ผนังจมูกขาดเลือดทำให้เยื่อบุโพรงจมูกฝ่อ ขาดหรือทะลุ สมองกระตุ้นรุนแรงทำให้เกิดอาการชัก มีเลือดออกในสมองเนื้อสมองตายเป็นบางส่วน หัวใจถูกกระตุ้น        อยู่เสมอ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมลงทีละน้อยจนหัวใจบีบตัวไม่ไหวทำให้หัวใจล้มเหลว       ผลจากการเสพเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดโรคจิตซึมเศร้า
โทษทางกฎหมาย
               จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ     พ.. 2522


ยาบ้า


              
ยาบ้า เป็นชื่อที่เรียกยาเสพติดที่มีส่วนผสมของสารเคมีประเภทแอมเฟตามีน (Amphetamine) สารประเภทนี้แพร่ระบาดอยู่ 3 รูปแบบ ด้วยกัน คือ แอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulfate) และเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ (Methamphetamine Hydrochloride) ซึ่งจากผลการตรวจพิสูจน์ยาบ้าปัจจุบัน ที่พบอยู่ในประเทศไทยมักพบว่าเกือบทั้งหมดมี เมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ผสมอยู่
               ยาบ้า จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิเมตร มีสีต่างๆกัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลืองและสีเขียว มีสัญลักษณ์ ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ, m, M, PG, WY สัญลักษณ์รูปดาว, รูปพระจันทร์เสี้ยว, 99 หรืออาจเป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ อาจปรากฎบนเม็ด ยาด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านหรือทั้งสองด้านหรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้านก็ได้

วิธีการเสพ
               วิธีการเสพยาบ้าทำได้หลายวิธี เช่น รับประทาน หรือนำไปผสมลงใน เครื่องดื่มครั้งละ 1/4,1/2  หรือ 1-2  เม็ด หรือบางครั้งอาจใช้วิธีฉีดเข้าเส้น แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม วิธีที่นิยมมากที่สุดได้แก่ วิธีสูบ หมายถึงการใช้หลอดสูบเอาควันที่ได้จากการเผาไหม้เม็ดยาเข้าทางปากคล้ายกับการสูบบุหรี่ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีอันตรายต่อร่างกายอย่างยิ่ง เพราะตัวยาจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างรุนแรงและรวดเร็วกว่าวิธีเสพในรูปแบบอื่น

ฤทธิ์ในทางเสพติด
               - ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท
               - มีการเสพติดทางร่างกายและจิตใจไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย
อาการผู้เสพ
               เมื่อเสพเข้าร่างกายในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยารู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติประสาทช้าทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาดเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้าอาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาท และระบบการหายใจ ทำให้หมดสติ และถึงแก่ความตายได้
โทษที่ได้รับ
               การเสพยาบ้าก่อให้เกิดผลร้ายหลายประการดังนี้
               1. ผลต่อจิตใจ เมื่อเสพยาบ้าเป็นระยะเวลานานหรือใช้เป็นจำนวนมาก จะทำให้ผู้เสพมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ กลายเป็นโรคจิตชนิดระแวง ส่งผลให้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่นเกิดอาการหวาดกลัว ประสาทหลอน ซึ่งโรคนี้หากเกิดขึ้นแล้ว อาการจะคงอยู่ต่อไปแม้ในช่วงเวลาที่ไม่ได้เสพยาก็ตาม
               2. ผลต่อระบบประสาท ในระยะแรกๆออกฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาประสาทจะอ่อนล้า ทำให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆช้า และ ผิดพลาดหากใช้ติดต่อกันนานจะทำให้สมองเสื่อม หรือกรณีที่ใช้ยาปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติและถึงแก่ความตายได้
               3. ผลต่อพฤติกรรม ฤทธิ์ของยาจะกระตุ้นสมองส่วนที่ควบคุมความก้าวร้าวและความกระวนกระวายใจดังนั้นเมื่อเสพยาบ้านานๆ จะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงคือ ผู้เสพจะมีความก้าวร้าวเพิ่มขึ้นและหากยังใช้ต่อไปจะมีโอกาสเป็นโรคจิตชนิดหวาดระแวง เกรงว่าจะมีคนมาทำร้ายตนเองจึงต้องทำร้ายผู้อื่นก่อน

ยาเสพติดทำให้เกิดความผิดปกติทางจิต
               การใช้ยาบางชนิดในปริมาณเป็นเวลานานๆโดยเฉพาะจำพวกยาบ้าอาจก่อให้เกิดอาการทางจิตคล้ายกับอาการโรคจิตเภทได้รับผลการศึกษาติดตามอาการของผู้เสพยา เป็นเวลา 6 ปี พบว่า 55% ของผู้ที่ใช้ยา กระตุ้นประสาท จะเกิดอาการเหมือนโรคจิตเภท แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นเมื่อหยุดใช้ยา แต่อย่างไรก็ตามยังมีกรณีของผู้ที่ใช้ยาหลอน ประสาท เช่น แอลเอสดี แล้วทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตขึ้นด้วยเช่นกัน
โทษทางกฎหมาย
               จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ     พ.. 2522

ยาอี ยาเลิฟ เอ็คตาซี (Ecstasy)
 







               ยาอี ยาเลิฟ เอ็คตาซี (Ecstasy) เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางด้านเคมีเท่าที่พบส่วนใหญ่จะมีองค์ประกอบทางเคมี ที่สำคัญคือ 3,4 Methylenedioxy methamphetamine (MDMA),3,4 Methylenedioxy amphetamine (MDA)และ 3,4 Methylenedioxy ethomphetamine (MDE หรือ MDEA) ลักษณะของยาอี มีทั้งแคปซูลและเป็นเมล็ดยาสีต่างๆ แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเมล็ดกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1.2 .. หนา 0.3-0.4 .. ผิวเรียบและปรากฏ สัญลักษณ์บนเมล็ดยาเป็นรูปต่างๆ เช่น กระต่าย, ค้างคาว, นก, ดวงอาทิตย์, P.T.  เสพโดยการรับประทานเป็นเม็ด จะออกฤทธิ์ภายใน 45 นาที และฤทธิ์ยาจะอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ 6-8       ชั่วโมง
               ยาอี ยาเลิฟ เอ็คตาซี เป็นยาที่แพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบเที่ยวกลางคืน   ออกฤทธิ์ใน 2 ลักษณะ คือ ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทในระยะสั้นๆ หลังจากนั้นจะออกฤทธิ์อย่างรุนแรงฤทธิ์ของยาจะทำให้ผู้เสพรู้สึกร้อน เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง การได้ยินเสียงและการมองเห็นแสงสีต่างๆผิดไปจากความเป็นจริงเคลิบเคลิ้มไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อันเป็นสาเหตุพฤติกรรมเสื่อมเสียต่างๆ และจากการค้นคว้าวิจัยของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์หลายท่านพบว่า ยาชนิดนี้มีอันตรายร้ายแรง แม้จะเสพเพียง 1-2 ครั้งก็สามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้ผู้เสพมีโอกาสติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่ายและยังทำลายเซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่ส่งสารซีโรโทนิน(Serotonin) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ในการควบคุมอารมณ์ให้มีความสุข ซึ่งผลจากการทำลายดังกล่าว จะทำให้ผู้เสพเข้าสู่สภาวะของอารมณ์ที่เศร้าหมอง และ หดหู่อย่างมาก และมีแนวโน้มในการฆ่าตัวตายสูงกว่าคนปกติ

ฤทธิ์ในทางเสพติด
               ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในระยะสั้น ๆ จากนั้นจะออกฤทธิ์หลอนประสาท    มีอาการติดยาทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย

อาการผู้เสพ
               เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ระบบประสาทการรับรู้    เปลี่ยนแปลงทั้งหมด (Psychedelic) ทำให้การได้ยินเสียงและการมองเห็นแสงสีต่าง ๆ     ผิดไปจากความเป็นจริง เคลิบเคลิ้ม ควบคุมอารมณ์ไม่ได้

โทษที่ได้รับ
               การเสพยาอีทำให้เกิดผลร้ายหลายประการ ดังนี้
1. ผลต่ออารมณ์ เมื่อเริ่มเสพระยะแรกยาอีจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทให้ผู้เสพรู้สึกตื่นตัวตลอดเวลาไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้เป็นสาเหตุให้เกิดพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ
2. ผลต่อการรับรู้ การรับรู้จะเปลี่ยนแปลงไปจากความเป็นจริง
3. ผลต่อระบบประสาท   ยาอีจะทำลายระบบประสาททำให้เซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่ส่งสารซีโรโทนิน(Serotonin) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ในการควบคุมอารมณ์นั้นทำงานผิดปกติ กล่าวคือ เมื่อยาอีเข้าสู่สมองแล้วจะทำให้เกิดการหลั่งสาร ซีโรโทนินออกมามากเกินกว่าปกติส่งผลให้จิตใจสดชื่นเบิกบานแต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป สารดังกล่าวจะลดน้อยลงทำให้เกิดอาการซึมเศร้า หดหู่อย่างมากอาจกลายเป็นโรคจิตประเภทซึมเศร้า (Depression) และอาจเกิดสภาวะอยากฆ่าตัวตาย นอกจากนี้การที่สารซีโรโทนินลดลงยังทำให้ธรรมชาติของการนอนหลับผิดปกติ จำนวนเวลาของการหลับลดลง นอนหลับไม่สนิท จึงเกิดอาการอ่อนเพลียขาดสมาธิในการเรียนและทำงาน

โทษทางกฎหมาย  
               จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ     พ.. 2522

ศัพท์ในวงการยาเสพติด
ผ่อน     หมายถึง  การเลิกเสพยาเสพติด โดยลดปริมาณยาและจำนวนครั้งในการเสพและใช้
             ยาอื่นชดเชยด้วย
น็อค     หมายถึง  เสพยาเสพติดเกินขนาดแล้วหลับหรือหมดสติ
หักดิบ  หมายถึง การถอนยาอย่างกะทันหันทำให้เกิดอาการหนาวสั่นและขนลุก ทำให้เกิด
            ปุ่มเล็ก ๆ บนผิวหนัง (อาการขนลุก) คล้ายกับไก่ที่ถูกถอนขนฝรั่งเลยเรียกว่า Cold
            Turkey” แต่ไทยเรียกว่า หักดิบหรือเป็นการเลิกยาเสพติดโดยหยุดเสพและไม่ใช้
            ยาอื่นช่วย

ยาอี...มีหลายชื่อ
               1. ชื่อทั่วไป (General name) เป็นชื่อที่รู้จักกันตามโครงสร้างทางเคมี
                   - MDMA (3, 4 Methylenedioxy methamphetamine)
                   - MDE หรือ MDEA (Methylenedioxy ethomphetamine)        
                   - MDA (3, 4 Methylenedioxy amphetamine)
               2. ชื่อทางการค้า (Trade name) เป็นชื่อที่ทางบริษัทผู้ผลิตตั้งขึ้น มีอยู่หลายชื่อด้วยกัน เช่น ECSTASY, E, ADAM, LOVE DOVER, XTC, Eve
               3. ชื่อตามเครื่องหมายการค้า (Trade mark) หรือสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่บนเม็ดยา เช่น นก กระต่าย, ค้างคาว, ผีเสื้อ, ดวงอาทิตย์, หยิน หยาง, P.T.
               4. ชื่อตามอาการผู้เสพ ยากอด ยาเลิฟ เช่น เมื่อเสพแล้วจะเต้นโดยโยกศีรษะตลอดเวลา เรียกว่า ยาหัวส่าย หรือเมื่อเสพแล้วทำให้เกิดพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก็เรียกเป็นภาษาแสลงว่า ยาเลิฟ (Love Drug หรือ Love Pills) ยากอด (Hug Pills)

ยาเค
               ยาเค  มาจากคำว่า เคตามีน (Ketamine) เคตาวา (Ketava) หรือ เคตารา (Ketara) หมายถึง ยาที่มีอันตรายสูงที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ป่วยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น ยาเคถูกสังเคราะห์ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยใช้เป็นยาสลบมีชื่อเรียกในวงการแพทย์ว่า “KETAMINE HCL.” มีลักษณะเป็นผงสีขาว และเป็นน้ำบรรจุในขวดสีชา การนำไปใช้นั้นปกติแพทย์จะใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดในอัตรา 1 ถึง 2 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยยาจะออกฤทธิ์ทำให้หมดสติภายใน 1 นาที หรืออาจใช้วิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่วิธีนี้จะใช้ปริมาณยามากกว่าการฉีดเข้าเส้นเลือดประมาณ 3 เท่า อาการหมดสติจากการใช้ยาจะเป็นอยู่ประมาณ 10 15 นาที เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ยาเคจึงถูกนำมาใช้ในกรณีของการผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ หรือใช้ทำให้ผู้ป่วยสลบ ก่อนที่จะผ่านไปสู่การใช้ยาสลบชนิดอื่น
               สาเหตุที่ทำให้ยาเค กลายเป็นปัญหาเพราะวัยรุ่นบางกลุ่มได้นำยาเคมาใช้เป็น สิ่งมึนเมา โดยนำมาทำให้เป็นผงด้วยกรรมวิธีผ่านความร้อนจากนั้นจึงนำมาสูดดม เพื่อให้เกิดอาการมึนเมา และมักพบว่ามีการนำยาเคมาใช้ร่วมกับยาเสพติดร้ายแรงชนิดอื่น เช่น    ยาอี และโคเคน
               ยาเค เป็นยาที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรงเมื่อเสพเข้าไปจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม (Euphoria) รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจพิเศษ (Mystical) มีอาการสูญเสียกระบวนการทางความคิด ความคิดสับสน การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง สี เสียง จะเปลี่ยนแปลงไป ตาลาย ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน หากใช้ปริมาณมากจะเกิดการติดขัดในการหายใจ (Respiratory depression) อาการที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้น (Bad Trip) จะปรากฏให้เห็นคล้ายกับอาการทางจิต ซึ่งหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะปรากฏอาการเช่นนี้บ่อย ๆ เรียกว่า Flashbacks ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะทำให้ผู้เสพประสพกับสภาวะโรคจิตและกลายเป็นคนวิกลจริตได้

ฤทธิ์ในทางเสพติด
               - ยาเค ออกฤทธิ์หลอนประสาท

อาการผู้เสพ
               เคลิบเคลิ้ม มึนงง ความคิดสับสนตาลาย หูแว่ว การรับรู้และการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่สัมพันธ์กัน

โทษทางกฎหมาย
               จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 106 .. 2541 ออกตามความใน พรบ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.. 2518 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 .. 2541 ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุก 5 20 ปี ปรับตั้งแต่ 100,000 400,000 บาท

โทษที่ได้รับ
               การนำยาเคมาใช้ในทางที่ผิดย่อก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้ โดยทำให้เกิดผล ดังนี้
1.                 ผลต่ออารมณ์ มีความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม มึนงง หรือที่เรียกว่า อาการ Dissociation”
2.                 ผลต่อการรับรู้จะเปลี่ยนแปลงการรับรู้ทั้งหมดขณะเสพ ไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง สี เสียง
3.                 ผลต่อร่างกายและระบบประสาท เมื่อใช้ยาเคในประมาณมาก ๆ ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดอาการติดขัดในการหายใจเท่านั้น ยังทำให้เกิดอาการทางจิตประสาทหลอน    หูแว่ว กลายเป็นคนวิกลจริตได้






แอลเอสดี (LSD: Lysergic acid diethylamide)
แอลเอสดีเป็นสารสกัดจากกรดไลเซอจิกที่มีในเชื้อราชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นในข้าวไรย์ มีลักษณะเป็นผงละลายน้ำได้อาจพบแอลเอสดีเป็นเม็ดยาแคปซูล หรือผสมในทอฟฟี่ ที่พบว่าแพร่ระบาดมากมีลักษณะเป็นแผ่นกระดาษชุบหรือเคลือบสารแอลเอสดีและปรุแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลักษณะเดียวกับแสตมป์ แต่มีขนาดเล็กกว่าแสตมป์โดยแผ่นกระดาษที่เคลือบสารแอลเอสดีนั้นจะมีสัญลักษณ์หรือรูปภาพต่าง ๆ แอลเอสดีมีความรุนแรงในการออกฤทธิ์ต่อสมองสูงคือใช้ในปริมาณแค่ 25 Microgram (25/1 ล้านส่วนของกรัม)          แอลเอสดีมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น เมจิคเปเปอร์ แอสซิส แสตมป์


วิธีการเสพ

               การเสพอาจทำได้หลายวิธี เช่น การฉีด หรือการนำกระดาษที่เคลือบแอลเอสดีอยู่มาเคี้ยว หรืออมหรือวางไว้ใต้ลิ้น

ฤทธิ์ในทางเสพติด
               ออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง ไม่มีอาการเสพติดทางร่างกาย มีอาการเสพติดทางจิตใจ

อาการของผู้เสพ
               คลิบเคลิ้ม ฝันเฟื่อง ความดันโลหิตสูง อุณหภูมิร่างกายสูงหายใจไม่สม่ำเสมอ

โทษที่ได้รับ
               ฤทธิ์ของยาจะทำให้ผู้เสพเห็นภาพลวงตา หูแว่ว เพ้อฝัน คิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษหรือคิดว่าเหาะได้อาจมีอาการทางจิตประสาทรุนแรงมีอาการหวาดระแวง เกิดอาการกลัวภาพหลอน (Bad Trip) จึงต้องหนีจากความหวาดกลัว เช่น การขับรถหนี หรือเหาะหนี หรือฆ่าตัวตายเพราะความหวาดกลัว
โทษทางกฎหมาย
               เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ        พ.. 2522

กัญชา (Cannabis, Marihuana, Ganja)
               กัญชา เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าขึ้นได้ง่ายในเขตร้อน ลำต้นสูงประมาณ 2 4 ฟุต ลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5 8 แฉก คล้ายใบมันสำปะหลัง ที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยักอยู่เป็นระยะ ๆ ออกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน ส่วนที่คนนำมาเสพได้แก่ ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบและยอดกัญชาโดยนำมาตากแดดหรืออบแห้งแล้วบดหรือหั่นเป็นผงหยาบ ๆ จากนั้นจึงนำมายัดใส้บุหรี่สูบ (แตกต่างจากบุหรี่ทั่วไปที่ไส้บุหรี่จะมีสีเขียวต่างจากไส้ยาสูบที่มีสีน้ำตาล และขณะจุดสูบจะมีกลิ่นเหมือนหญ้าแห้งไหม้ไฟ) หรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บ้างก็ใช้เคี้ยวหรือผสมลงในอาหารรับประทาน ปัจจุบันรูปแบบของกัญชาที่พบนอกจากจะพบในลักษณะของกัญชาสด กัญชาแห้งอัดเป็นแท่งเป็นก้อนแล้วยังอาจพบในรูปของ น้ำมันกัญชา” (Hashish Oil) ซึ่งมีลัษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำได้จากการนำกัญชามาผ่านกระบวนการสกัดหลาย ๆ ครั้งจึงได้เป็นน้ำมันกัญชาที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสูงถึง 20 60 % หรืออาจพบในลักษณะของ ยางกัญชา” (Hashish) เป็นยางแห้งที่ได้จากใบและยอดช่อของดอกกัญชา ซึ่งโดยทั่วไปจะมีฤทธิ์แรงกว่ากัญชาสดและมีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประมาณ    4 8 % กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษที่ออกฤทธิ์หลายอย่างต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือทั้งกระตุ้น กด และหลอนประสาท สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกัญชามีหลายชนิดแต่สารที่สำคัญที่สุดที่มีฤทธิ์ต่อสมองและทำให้ร่างกาย อารมณ์และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahidro cannabinol) หรือTHC ที่มีอยู่มากในส่วนของยอดช่อดอกกัญชา สาร THC นี้ ในเบื้องต้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา ต้อมาจะกดประสาททำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อน ๆ เซื่องซึมและง่วงนอน หากเสพเข้าไปปริมาณมาก ๆ จะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ความคิดสับสน ควบคุมตัวเองไม่ได้
ฤทธิ์ในทางเสพติด
               ออกฤทธิ์ผสมผสานทั้งกระตุ้น กดและหลอนประสาท มีอาการเสพติดทาง    จิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย

อาการผู้เสพ
               อารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงง่าย ความคิดเลื่อนลอยสับสน ควบคุมตัวเอง    ไม่ได้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความจำเสื่อม กล้ามเนื้อลีบ หัวใจเต้นเร็ว หูแว่ว

โทษที่ได้รับ
               หลายคนคิดว่า การเสพกัญชาไม่มีโทษร้ายแรงมากนัก แต่จากการศึกษาวิจัย พบว่า กัญชาเป็นสิ่งเสพติดอีกชนิดหนึ่ง ที่มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพมากเกินกว่าที่     คาดคิดอาทิ เช่น
               1. ทำลายสมรรถภาพร่างกาย ผู้เสพกัญชาในปริมาณมาก ๆ เป็นระยะเวลา   นาน ๆ จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม จนไม่สามารถประกอบกิจการงานใดๆ ได้โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้แรงงาน ความคิด และการตัดสินใจ รวมทั้งจะมีลักษณะ Amotivation Syndrome คือการหมดแรงจูงใจของชีวิตจะไม่คิดทำอะไรเลยอยากอยู่เฉย ๆ ไปวัน ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานเป็นอย่างมาก
               2. ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การเสพติดกัญชามีผลร้ายคล้ายกับการติดเอดส์ (HIV) กล่าวคือ กัญชาจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำเสื่อมลงหรือบกพร่อง ร่างกายจะอ่อนแอและติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย
               3. ทำลายสมอง การเสพกัญชาแม้เพียงในระยะสั้นทำให้ผู้เสพบางรายสูญเสียความทรงจำเพราะฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้สมองและความจำเสื่อมเกิดความสับสน         วิตกกังวลและหากผู้เสพเป็นผู้มีอาการของโรคจิตเภทหรือป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงมากกว่าคนปกติทั่วไป
               4. ทำให้เกิดมะเร็งปอด เนื่องจากผู้เสพจะอัดควันกัญชาเข้าไปในปอดลึกนานหลายวินาทีการสูบบุหรี่ยัดไส้กัญชาเพียง 4 มวน ซึ่งเท่ากับสูบบุหรี่ 1 ซอง หรือ 20 มวน นั้นสามารถทำลายการทำงานของระบบทางเดินหายใจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่ธรรมดาถึง 5 เท่า และในกัญชายังมีสารเคมีที่เป็นอันตรายสามารถให้เกิดโรคมะเร็งได้
               5. ทำร้ายทารกในครรภ์ กัญชาจะทำลายโครโมโซม ฉะนั้นหญิงที่เสพกัญชาในระยะตั้งครรภ์ทารกที่เกิดมาจะพิการมีความผิดปกติทางร่างกาย เช่น ความผิดปกติของเซลล์ประสาทในสมอง ความผิดปกติของฮอร์โมนเพศและพันธุกรรม
               6. ทำลายความรู้สึกทางเพศ กัญชาจะทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโลนในชายลดลง ทำให้ปริมาณอสุจิน้อยลง ทั้งยังพบว่าผู้เสพกัญชามักกลายเป็นคนขาดสมรรถภาพทางเพศ
               7. ทำลายสุขภาพจิต ฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้ผู้เสพมีอาการเลื่อนลอย ฝันเฟื่อง ความคิดสับสนและมีอาการประสาทหลอนจนควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึ่งถ้าเสพเป็นระยะเวลานานจะทำให้มีอาการจิตเสื่อม
               นอกจากผลร้ายที่มีต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพแล้ว การขับรถ ขณะเมากัญชายังก่อให้เกิดอันตรายได้มาก เพราะฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้เสียสมาธิ ทำให้การตัดสินใจ   ผิดพลาด การตอบสนองช้าลง การรับรู้ทาง สายตาบิดเบือน ความสามารถในการมองเห็นสิ่งเคลื่อนที่ด้อยลง จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้ขับรถยนต์หรือแม้แต่เดินบนท้องถนนก็ตาม

โทษตามกฎหมาย
               จัดเป็นยาเสพติดประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.. 2522

เพศของกัญชา
               กัญชาที่ปลูกนั้นอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ประเภทแรก ปลูกเพื่อนำเส้นใย    มาทอผ้าพวกนี้จะให้สารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทเพียงเล็กน้อย ส่วนอีกพวกหนึ่ง จะให้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่รุนแรงจึงมักปลุกเพื่อใช้ในการเสพโดยเฉพาะ ต้นกัญชามีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งล้วนแต่มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทด้วยกันทั้งสองเพศแต่ส่วนใหญ่นิยมต้นตัวเมียมากกว่าต้นตัวผู้เพราะต้นตัวเมียจะมีช่อดอก ช่อใบ ซึ่งเป็นส่วนที่มีปริมาณของสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสูงกว่าส่วนอื่นโดยเฉพาะส่วนยอดช่อดอกตัวเมีย ที่เรียกกันว่า กะหรี่กัญชา

คำศัพท์ในวงการยาเสพติด
               พี้            หมายถึง สูบกัญชา
               บ้อง              “        อุปกรณ์สำหรับสูบกัญชา
               ยำ                “        การเอากัญชามาผสมกับยาเส้นในบุหรี่
               โรย               “        การสูบกัญชาผสมเฮโรอีน

บุหรี่ (Cigarette)

 บุหรี่สารต่าง ๆ หลายชนิด แต่สารที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเสพติด คือ นิโคติน เป็นสารแอลคะลอยด์ที่ไม่มีสี นิโคติน 30 มิลลิกรัม สามารถทำให้คนตายได้ บุหรี่มวนหนึ่งจะมีนิโคตินอยู่ราว 15 20 มิลลิกรัม ก็คือจำนวนนิโคตินในบุหรี่ 2 มวน สามารถทำให้คนตายได้ในทันที แต่การที่สูบบุหรี่ติดต่อกันหลายมวนแล้วไม่ตาย ก็เพราะว่ามีนิโคตินในควันบุหรี่เป็นส่วนน้อยที่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูบ
 

 ฤทธิ์ในทางเสพติด
               บุหรี่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทไม่มีอาการเสพติดทางร่างกาย มีอาการเสพติดทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย
อาการของผู้เสพ
               ตาแห้ง ตาแดง ริมฝีปากแห้งเขียว เล็บเหลือง ฟันมีคราบดำจับ มือสั่น              ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หลอดลมอักเสบเกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ           ไอเสียงแหบ

โทษที่ได้รับ
               นิโคตินจะออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้ทำงานหนัก และในขณะเดียวกันจะทำให้หลอดเลือดหดตัวอันเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง ถ้าผู้สูบบุหรี่เป็นผู้หญิงมีครรภ์จะทำให้แท้งได้ง่ายหรือทารกที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ

บุหรี่ที่มีก้นกรองและไม่มีก้นกรองอย่างไหนมีอันตรายกว่ากัน
               จากการศึกษาพบว่าบุหรี่นั้นมีอันตรายไม่ว่าจะมีหรือไม่มีก้นกรองก็ตาม เพราะจากการวัดปริมาณสารทาร์ และสารนิโคติน พบว่าบุหรี่ที่มีก้นกรองและไม่มีก้นกรองผู้สูบจะได้รับปริมารสารทาร์และนิโคตินเท่ากัน แต่อาจเป็นไปได้ว่าบุหรี่ที่มีก้นกรองอาจกรองสารอื่นที่มีอณุภาคขนาดใหญ่ออกไปจากควันบุหรี่ได้บ้าง จะเห็นได้ว่าแม้แต่ใน               ต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่จะชอบสูบบุหรี่ก้นกรอง ก็ยังพบว่าผู้สูบบุหรี่ที่มีก้นกรองนั้น     ได้รับพิษภัยจากบุหรี่เป็นจำนวนมากและรัฐบาลแต่ละประเทศก็รณรงค์ ให้เลิกสูบบุหรี่      ก้นกรองอยู่ตลอดเวลา และประเทศไทยก็ได้มีการรณรงค์ และออกกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ เพื่อต้องการให้บุคคลที่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะเด็กเยาวชน
แอลกอฮอล์
               แอลกอฮอล์ เป็นของเหลวไม่มีสี แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มมึนเมา คือ เอทิลแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมาชนิดต่าง ๆ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้ บรั่นดี จะมีปริมาณเอทิลแอลกอฮอล์ต่างกัน

ฤทธิ์ในทางเสพติด
               ออกฤทธิ์กดประสาท มีการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ

อาการผู้เสพ
               ถ้าดื่มมาก ๆ จะกัดกระเพาะอาหารเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ความรู้สึกนึกคิดผิดไป ควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่สามารถยับยั้งตนเองจึงอาจแสดงอาการบางอย่างออกมาเช่น ดุร้าย ทะเลาะวิวาท พูดมากนอกจากนี้ยังมีอาการหน้าแดง ตัวแดง ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นแรง ปัสสาวะบ่อย ถ้าดื่มมากขึ้นอีกจะทำให้การรับรส กลิ่น เสียงและสัมผัสลดลง คนที่เสพติดแอลกอฮอล์หรือคนที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังจะมีใบหน้าบวมฉุ ตาแดง หน้าแดง ผิวหนังคล้ำ มือสั่น ลมหายใจมีกลิ่นแอลกอฮอล์

โทษที่ได้รับ
               ถ้าดื่มเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง ทำลายตับและสมอง สติปัญญาเสื่อม ควบคุมตัวเองไม่ได้ จิตใจผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย เป็นตะคริว ปลายมือปลายเท้าชากระเพาะอาหารอักเสบ เบื่ออาหาร ร่างกายซูบผอมและอาจเกิดโรคตับแข็ง ถ้าเสพติดมากและไม่ได้เสพจะมีอาการกระวนกระวาย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เหงื่อ    ออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว อารมณ์ฉุนเฉียว อาจมีอาการชัก ประสาทหลอนเป็นโรคจิตและถ้าดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาที่กดประสาท เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท จะเสริมฤทธิ์กันทำให้มีอันตรายมากขึ้นได้ ทางช่วยเหลือผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
การขอความช่วยเหลือ ติดต่อขอคำแนะนำได้ที่ศูนย์ Hotline หรือขอรับการบำบัดได้ที่แผนกจิตเวช โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี

การรักษาด้วยยา
               แพทย์อาจสั่งยาไดซัลฟิแรม (Disulfiram) หรือยาแอนตาบิวส์ (Antabuse) ให้กินเป็นประจำทุกวันซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ หน้าแดงและอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่างเมื่อดื่มสุราเข้าไป วิธีนี้มักใช้ได้ผลกับผู้ที่มีความมุ่งมั่นที่จะเลิกสุราโดยเด็ดขาด

จิตบำบัด
               คนที่ติดสุรานอกจากจะเอาชนะอาการทางกายแล้วยังต้องต่อสู้กับปัญหาทางจิตใจด้วย ผู้ป่วยอาจต้องไปพบนักจิตบำบัดเพื่อขอความช่วยเหลือเฉพาะกรณีต่อไป
การเข้ารักษาในโรงพยาบาล
               ผู้ที่ติดสุราอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อบำบัดอาการที่เกิดขึ้นจากการเลิกสุราและฟื้นฟูสุขภาพในระยะยาว ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาตัวอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ป่วยแต่ละราย หลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผู้ป่วยมักจะได้รับการนัดหมายจากแพทย์ให้มาตรวจที่โรงพยาบาลอีกเพื่อติดตามอาการอย่างต่อเนื่องไปสักระยะหนึ่ง 

สมอง...ติดยาเสพติดได้อย่างไร
               การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละน้อยจากการใช้ยาเสพติดเป็นครั้งคราว สู่การใช้ถี่ขึ้น จนต้องใช้ทุกวัน ๆ ละหลายครั้ง สมองคนเราจะมี 2 ส่วนคือ
                1. สมองส่วนนอก (Cerebral Cortex) เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการคิด
               2. สมองส่วนที่อยู่ชั้นใน (Limbic System) เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ความต้องการต่าง ๆ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นสมองในส่วนที่ทำให้เกิดความอยากผู้ที่เสพยาบ้าหรือเมทแอมเฟตามีน ฤทธิ์ของมันจะเข้าไปกระตุ้นปลายประสาทในสมองที่อยู่ชั้นใน ให้ส่งสารเคมีออกมาชนิดหนึ่ง ทำให้เกิดความรู้สึกสบาย แต่ในขณะเดียวกันเมื่อใช้ยาบ่อยครั้งเข้า จะทำให้สมองส่วนนอกซึ่งทำหน้าที่ในการคิดถูกทำลายลง การใช้ความคิดที่มีเหตุผลจะเสียไป ทำให้ผู้ที่ใช้ยาบ้ามักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม       มีอารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย ไม่สามารถควบคุมอารมณ์หรือพฤติกรรมของตนเองได้     จึงทำให้มีการใช้ยาเสพติดบ่อยขึ้น จนทำให้มีอากรทางจิตและกลายเป็นผู้ป่วยโรคจิต      เต็มขั้นในที่สุด

สาเหตุของการติดยาเสพติด
               ภายหลังจากที่มีการประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37 ลง วันที่ 1 กรกฎาคม 2501 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2502 ห้ามประชาชนทั่วประเทศไทยสูบฝิ่นเพียงชนิดเดียวและก่อนที่ประกาศคณะปฏิวัติจะมีผลบังคับ ได้อนุญาตให้ผู้เสพติดฝิ่นมาขอจดทะเบียนเพื่อผ่อนผันให้เสพต่อไปได้อีก 6 เดือน ปรากฏว่ามีผู้มาลงทะเบียนแสดงการติดฝิ่นทั่วประเทศ 70,985 คน แต่ก็คงมีผู้แอบเสพโดยไม่มาลงทะเบียน ซึ่งคงมีจำนวนอีกไม่มาก   เมื่อเหตุการณ์ล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบัน ยาเสพติดนับได้ว่าเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างร้ายแรง ทั้งจำนวนผู้ติดยาเสพติดก็มากขึ้นนับกว่าล้านคน ซึ่งยาเสพติดที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ก็กลับมีเพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด มิได้มีแต่ฝิ่นเพียงอย่างเดียวเหมือนเช่นสมัยก่อน จึงได้มีการศึกษาค้นคว้าว่าเพราะสาเหตุใดที่ทำให้ผู้คนโดยเฉพาะ  เยาวชนไปเสพยาเสพติดทั้ง ๆ ที่สมัยที่มีการเสพติดฝิ่นเพียงอย่างเดียว ปรากฏชัดว่าผู้ติดฝิ่นมีอายุต่ำสุด 40 ปี แต่ปัจจุบันผู้ติดยาเสพติดหรือสิ่งเสพติดกลับมีอายุลดลงอย่างน่าวิตก คือต่ำที่สุด 7 ปี และสูงสุดกลายเป็น 40 ปี และช่วงที่เป็นปัญหาที่น่าห่วงใยเพราะทรัพยากรอันมีค่าของประเทศกำลังอยู่ในอันตรายจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันชี้แนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง โดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด


สาเหตุที่ทำให้เยาวชน ตลอดจนผู้คนวัยอื่น ๆ หันไปเสพยาเสพติดที่หลายประการที่สำคัญ ดังนี้
               1. สาเหตุจากการถูกชักชวน    เยาวชนส่วนใหญ่มีสัญชาตญาณต้องการอยู่      ร่วมกัน ต้องการได้รับการยกย่องและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่คณะ ฉะนั้นถ้าเพื่อนฝูงชักชวนให้ลองย่อมขัดไม่ได้ มิฉะนั้นจะกลายเป็นเข้ากับเพื่อนไม่ได้ จึงทำให้เยาวชนต้องยอมใช้ยาเสพติดตามการชักชวนของเพื่อน ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุนที่แน่ชัด โดยผลจากการศึกษาวิจัยของทางราชการ พบว่า เยาวชนติดยาเสพติดเพราะถูกเพื่อนชักจูงมีถึง 77 % ประกอบกับเยาวชนวัยรุ่นเป็นวัยที่อยากรู้อยากลองจึงง่ายต่อการชักชวนมากขึ้น
               2. สาเหตุจากความกดดันในครอบครัว มีส่วนผลักดันให้สมาชิกในครอบครัวหันไปใช้ยาเสพติดได้ ซึ่งความกดดันในครอบครัวมีแตกต่างกันไป เช่น
2.1 พ่อแม่ทะเลาะกันทุกวันลูกเกิดความรำคาญใจที่เห็นสภาพเช่นนั้น ทำให้เบื่อบ้าน จึงทำให้ใช้เวลาว่างที่มีไปคบเพื่อนนอกบ้านจนกว่าจะถึงเวลานอนจึงกลับบ้านและในที่สุดก็หันไปสู่ยาเสพติด
2.2 พ่อแม่หย่าร้าง ต่างคนต่างมีภรรยาหรือสามีใหม่ทำให้ขาดความสนใจในลูกเท่าที่ควร เด็กในวัยรุ่นส่วนใหญ่มีความกดดันสูง ประกอบกับความน้อยใจว่าพ่อแม่ไม่รัก รู้สึกว้าเหว่ จึงได้หันไปใช้ยาเสพติด
2.3 พ่อแม่ที่ไม่เข้าใจลูกเยาวชนที่หันไปใช้ยาเสพติดมิใช่ว่ามีเฉพาะเยาวชนที่ยากจนหรืออยู่ในสถานกำพร้า ฯลฯ เยาวชนที่มีพ่อแม่ร่ำรวย ก็มีโอกาสติดยาเสพติดได้ เพราะความที่พ่อแม่ไม่เข้าใจลูก คิดว่าหากต้องการอะไรพ่อแม่ก็หาให้ได้โดยใช้เงิน         แต่ความเด็กหรือเยาวชนก็มีจิตใจอยากร่วมกันรับรู้กิจกรรมของครอบครัว ต้องการให้    พ่อแม่ยกย่องเมื่อทำกิจกรรมดี เช่น สอบไล่ได้ที่ดี ๆ หรือได้รับคำชมเมื่อช่วยเหลือผู้อื่น ย่อมต้องอยากเล่าให้พ่อแม่ฟังในเรื่องราวต่าง ๆ แต่ปรากฏว่าเมื่อกลับมาถึงบ้านพ่อแม่มี  ภารกิจมากไม่มีเวลาให้ลูก หรือทำความดีก็ไม่เคยรู้ เมื่อเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ เด็กก็เสียใจ         ในที่สุดก็กลายเป็นคนเงียบขรึม ว้าเหว่และหันไปใช้ยาเสพติดได้
2.4 พ่อแม่ที่แสดงออกในการรักลูกไม่เท่ากัน การเอาใจใส่ที่แสดงออกต่อลูกทุกคนควรเหมือนกันและพ่อแม่ที่ลูกหลายคนไม่ควรตั้งความหวังสูงนัก อยากให้ลูกเรียนเก่ง สอบได้ที่ 1 ทุกคนต้องการเช่นนี้ แต่ควรยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าการเรียนเก่งนั้นขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ประการ เช่น สติปัญญา ความเอาใจใส่ของเด็กเอง ฉะนั้น เมื่อมีลูก 2 3 คนอาจจะบางคนเรียนเก่ง ลูกที่เรียนไม่เก่งก็ไม่ควรได้รับการตำหนิจากพ่อแม่ เพราะสติปัญญาคนเราไม่เท่ากัน มีพ่อแม่บางคนพยายามชมเชยยกย่อง ลูกคนเรียนเก่งให้ลูกที่เรียนไม่เก่งฟังเสมอ ๆ
               3. สาเหตุความจำเป็นในอาชีพบางอย่าง เช่น ผู้ทำงานกลางคืน นักดนตรี      คนขับรถเมล์ คนขับรถบรรทุก ผู้ทำงานในสถานประกอบการ ผุ้มีอาชีพเหล่านี้ใช้ยาเสพติด โดยหวังผลให้สามารถประกอบการงานได้ เช่น บางคนใช้เพราะฤทธิ์ยาช่วยไม่ให้ง่วง    บางคนใช้เพื่อย้อมใจให้เกิดความกล้า
               4. สาเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจ คือ การไม่มีงานทำ หรือมีรายได้ไม่พอรายจ่าย รวมทั้งใช้จ่ายเกินตัวแม้จะทราบว่ายาเสพติดผิดกฎหมาย แต่เพื่อความอยู่รอดของตนเองจึงยอมไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด แต่การอยู่ใกล้ชิดบ่อย ๆ ในที่สุดก็เป็นผู้ส่งยาและติดยา บางคนแม้จะมีพอกินพอใช้ คิดอยากรวยทางลัดก็เป็นทางไปสู่ยาเสพติดได้
               5. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม มีผู้ติดยาเสพจำนวนไม่น้อย มีความตั้งใจเลิกเสพยา โดยเข้ารับการบำบัดรักษาจากทางภาครัฐและเอกชน แต่เมื่อหายแล้วปรากฏว่าสังคม       ไม่ยอมรับ เช่น ครอบครัว ตนเองยังแสดงท่าทางถูกเหยียดหยามรังเกียจ หรือไปสมัครงาน     ก็ถูกปฏิเสธ เนื่องจากมีประวัติติดยาเสพติด คนเหล่านี้จำเป็นต้องมีชีวิตอยู่รอด ดังนั้น     เมื่อสังคมไม่ยอมรับจึงหันกลับไปอยู่ในสังคมยาเสพติดเหมือนเดิม
               6. ขาดความรู้เรื่องยาและยาเสพติด คนบางคนทดลองใช้ยาเสพติดเพราะไม่รู้จักและไม่มีความรู้เรื่องยาเสพติด บางคนอาจเคยได้ยินโทษพิษภัยของยาเสพติด แต่ไม่รู้จักชื่อต่างๆ ที่ใช้เรียกอาจถูกหลอกให้ทดลองใช้และเกิดเสพติดขึ้นได้ เช่นคนส่วนใหญ่รู้ว่าเฮโรอีนเป็นยาเสพติดไม่อยากจะลอง แต่หลายคนไม่รู้ว่าผงขาวคือเฮโรอีน เมื่อเพื่อน       ชักชวนให้ลองผงขาวแล้วจะเที่ยวผู้หญิงสนุก จึงลองเสพโดยไม่รู้ว่าเฮโรอีน นอกจากนี้    ถ้าเรามีความรู้เรื่องการใช้ยาบ้างจะไม่ใช้ยาที่ไม่มีฉลาก
               สาเหตุใหญ่ ๆ ที่กล่าวมาแล้ว คนที่จิตใจอ่อนแอ อ่อนไหวง่ายก็ติดยาง่าย ดัง   ตัวอย่างข้างต้นสาเหตุที่ทำให้บุคคลหนึ่งไปติดยาเสพติดอาจมิใช่สาเหตุเดียวแต่อาจเกิดได้จากสาเหตุเดียวแต่อาจเกิดได้หลาย ๆ สาเหตุ

วิธีสังเกตผู้ติดยาเสพติดหรือสารเสพติด
               ผู้ที่ติดยาเสพติดย่อมรู้ตัวเองดีกว่าติดอะไรและสิ่งนั้นผิดกฏหมายหรือไม่ เช่น ติดเหล้าหรือบุหรี่ซึ่งไม่ผิดกฏหมาย บุคคล ผู้เสพติดก็จะไม่กังวลใจมาก บางรายกับเห็นเป็นของโก้ แต่ถ้าติดสิงเสพติดที่ผิดกฏหมายผู้เสพติดจะเกิดความเครียด เพราะต้องปิดบังในการเสพ ฉะนั้นผู้เสพติดจะมีมีสีหน้าแสดงถึงความไม่สบายใจคล้าย ๆ ทำผิดแล้วกลัวถูกจับได้ การสังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกได้ดังนี้
               1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย โดยสังเกตจากสิ่งต่อไปนี้
               - สุขภาพทั่วไปทรุดโทรมเพราะฤทธิ์ของยาอาจทำให้ไม่หิวหรือเบื่ออาหาร   ร่างกายผอมซีด น้ำหนักลด ทำงานหนักไม่ไหว บุคคลที่ติดยาเสพติดจะมีโรคแทรก ต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น โรคทางเดินอาหาร ปวดท้อง ตับแข็ง โรคทางเดินหายใจ (อาทิ ปอดบวม วัณโรค) โรคผิวหนัง (อาทิมีแผลทั้งตัว)
               - ริมฝีปากเขียวคล้ำ และแห้งแบบคนสูบบุหรี่จัด
- ร่างกายสกปรกมีกลิ่นตัวแรง เพราะไม่ชอบอาบน้ำ นิ้วมือมีคราบเหลือง ๆ สกปรก
- ชอบแต่งตัวด้วยการสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวเพื่อปิดรอยเข็มฉีดยาหรือแผลเป็นที่เกิดขึ้นมักนิยมใส่แว่นตาดำหรือสีเข้มเพื่อปิดบังม่านตาหรี่หรือขยาย
               2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและพฤติกรรม
               - ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ เช่น คนทำงานก็ขาดงาน นักเรียนก็ขาดเรียน
               - ขาดความมั่นใจในตัวเอง จิตใจอ่อนแอ
               - อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว ไม่มีเหตุผล พูดจาก้าวราว แม้แต่กับบิดามารดา ชอบสันโดษหลบหน้าเพื่อนฝูง
               - มั่วสุมกับคนที่มีพฤติการณ์เกี่ยวกับยาเสพติด
               - สูบบุหรี่จัด
               - มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่นตัวยา อุปกรณ์การฉีดยา หรือการสูดดมในตัว
               - หน้าตาซึมเศร้า
               - ใช้เงินเปลืองผิดปกติ
               - สิ่งของในบ้านหายบ่อย

               3. การแสดงออกการอยากยาเสพติด
               เป็นที่ทราบแล้วว่ายาเสพติดทุกชนิดเมื่อเสพแล้ว ก็ออกฤทธิ์ชั่วระยะเวลาหนึ่ง พอหมดฤทธิ์ก็ทำให้ผู้ติดยาอยากเสพอีกสังเกตอาการอยากยาที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจมีความ     แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของตัวยา เช่น
               - จาม น้ำมูกไหล น้ำตาไหลคล้ายคนเป็นหวัด
               - คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ
               - ท้องเดิน บางคนอยากมาก ถึงอุจจาระเป็นเลือด เรียกว่าลงแดง
               - ตัวสั่นกระตุก อาจถึงชัก
               - นอนไม่หลับ ทุรนทุราย ม่านตาขยาย

               4. อาศัยเทคนิคทางการแพทย์
               เมื่อลองสังเกตทั้ง 3 วิธีแล้วยังไม่มั่นใจก็ใช้เทคนิคทางการแพทย์เป็นเครื่องมือช่วยการสังเกตได้ดังนี้
               2.1 เก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าติดยาเสพติดส่งตรวจ โดยวิธีหาสารที่ถูกซึ่งอาศัยเทคนิคเฉพาะในการตรวจก็สามารถบอกได้ว่าสารที่ออกมาในปัสสาวะเป็นสารเสพติดชนิดใด
               2.2 ให้ยาบางชนิดที่ล้างฤทธิ์ยาเสพติด (Antidote) ให้แก่บุคคลที่สงสัยว่าติดสิ่งเสพติด เช่น ให้นาลอร์ฟีน (Nalorphine) ให้แก่บุคคลที่สงสัยว่าติดยาเสพติด เช่น          ให้นาลอร์ฟีน (Nalorphine) แก่บุคคลที่ติดเฮโรอีนกินซึ่งบุคคลนั้นแสดงอาการอยากยาตามข้อ 3 ทันที ทั้งนี้เพราะนาลอร์ฟีน สามารถทำลายฤทธิ์เฮโรอีน
ผลกระทบของการติดยาเสพติดหรือสารเสพติด
               1. ต่อผู้เสพเอง ผู้ใดติดยาเสพติดผู้นั้นก็จะได้รับพิษภัยของยาเสพติด ซึ่งทำลายผู้ติดยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนี้
- ทำให้สุขภาพทรุดโทรม มีโรคแทรกต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น ตับแข็ง วัณโรค     โรคผิวหนัง
เสียเศรษฐกิจของตน โดยต้องเสียเงินเพื่อหายาเสพติดมาเสพให้ได้
- บุคลิกภาพไม่ดี มีพฤติกรรม ที่เปลี่ยนไปทางที่ไม่มีและอาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย
- มีโทษตามกฎหมาย
              
               2. ต่อครอบครัว
- ความรับผิดชอบต่อครอบครัวหรือญาติพี่น้องหมดไป ครอบครัว หมด     ความสุข และเป็นภาระต่อบุคคลในครอบครัว รวมทั้งทิ้งภาระหนักให้ครอบครัวหากต้องพิการหรือเสียชีวิต
ทำความเดือดร้อนให้ครอบครัว และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัว
               3. ต่อสังคมหรือชุมชน
- เป็นที่รังเกียจของสังคมหรือชุมชน ไม่มีใครอยากคบด้วย เข้าสังคมไม่ได้
- เป็นอาชญากร    เพราะผู้ติดยาต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะให้ได้ยาเสพติดซึ่ง  ช่วงแรก ๆ อาจจะขอยืมเพื่อน แต่ต่อมาเพื่อนไม่ให้ยืม เพราะยืมแล้วไม่ใช้ ในที่สุดก็ต้อง ลักขโมยของผู้อื่นไป ขายหรือวิ่งราวชาวบ้าน ในที่สุดอาจถึงขั้นจี้ทรัพย์ ซึ่งพบข่าว     อาชญากรรมในหน้าหนังสือพิมพ์ บ่อย ๆ

               4. ต่อประเทศชาติ
                   4.1 ทำลายเศรษฐกิจของชาติ เพราะผู้ติดยาเสพติดคนหนึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 50 บาท ต่อวัน ถ้า 5 แสนคนจะประมาณ 25 ล้านบาทต่อวัน หรือ 750 ล้านบาทต่อ 1 เดือน หรือ 9 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งเงินจำนวนนี้สามารถนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย แต่ต้องกับมาเสียในกิจการเช่นนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
                   4.2 บ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศ ผู้ติดยาเสพติดจะมีสุขภาพสุขภาพเสื่อมโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ ตามฤทธิ์ของยาและมีความคิดคำนึงเพียงต้องมียาเสพติดให้ได้เมื่อเวลาอยาก ฉะนั้นถ้าประเทศใดมีเยาวชนซึ่งจะเป็นพลังของชาติในอนาคต ติดยาเสพติดมากก็เป็นบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศมากซึ่งต้องระมัดระวังผู้ที่ไม่หวังดีต่อชาติ จะใช้ยาเสพติดเป็นเครื่องมือ เพื่อทำลายความมั่นคงของชาติ

การป้องกันยาเสพติด
     
 ส่วนวิชาการด้านยาเสพติด สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามยาเสพติด (2553: 8) ได้กล่าวถึงหลักการในการป้องกันยาเสพติด โดยแบ่งออกได้เป็น 4 ข้อ ดังนี้
          1. การป้องกันตนเอง
                เริ่มจากการมีระเบียบวินัยในตนเอง ขยันหมั่นเพียร ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เลือกคบเพื่อนที่ดี ไม่มั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด และไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนาจากแพทย์ รวมทั้งอย่างทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด
          2. การป้องกันครอบครัว
                เริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว แบ่งเบาภาระหน้าที่แก่ กันและกันภายในบ้าน มีความรักใคร่กลมเกลียว และมีความเข้าใจกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา ช่วยสอดส่องดูแลสมาชิกในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดคอยอบรมตักเตือนสมาชิกในครอบครัวให้รู้ถึงโทษและภัยของยาเสพติด หากมีสมาชิกฯเสพยา เสพติดในครอบครัวควรรีบให้เข้ารักษาตัว อย่าปล่อยทิ้งไว้นานฯ ควรรีบรักษาโดยเร็วที่สุดเพื่อประโยชน์ในการรักษา
          3. การป้องกันชุมชน
                ช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด เพื่อมิให้เพื่อนบ้านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนาให้ไปปรึกษาตัวที่โรงพยาบาลภายในชุมชน หรือคนภายนอกชุมชนมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยอาจใช้มาตรการการตักเตือน กดดันทางสังคม หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน
          4. การป้องกันสังคม
                โดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ ในการเป็นหูเป็นตาช่วยสอดส่องเฝ้าระวังปัญหา เมื่อทราบว่าสถานที่ใดเป็นแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติด มีกิจกรรมใดที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะชักนำให้เด็ก และเยาวชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือมีบุคคลใดมีพฤติกรรมน่าจะเกี่ยวข้องกับ การนำยาเสพติดมาแพร่ระบาด โปรดแจ้งเบาะแสให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ
         

ประเภทของแอลกอฮอล์มีสองชนิด
1.           Ethyl alcohol ซึ่งใช้สำหรับเป็นเครื่องดื่ม เช่น วิสกี้, บรั่นดี, เบียร์ เหล้าองุ่น, แชมเปญ
2.           Methyl alcohol ซึ่งใช้จุดไฟหรือผสมสี ซึ่งแอลกอฮอล์ประเภทนี้ใช้ดื่มไม่ได้เพราะมีอันตรายกับร่างกายโดยเฉพาะทำให้ตาบอดได้

 ปริมาณของแอลกอฮอล์ใช้ในเครื่องดื่มทั่วไป
1.           เบียร์ มีปริมารแอลกอฮอล์ 4-8 ดีกรี
2.           ไวน์ มีปริมารแอลกอฮอล์ 8-15 ดีกรี3วิสกี้ (สุรา) มีปริมารแอลกอฮอล์ 28-95 ดีกรี
โทษของการดื่มสุราต่ออวัยวะต่างๆ
โทษของการดื่มสุรา ต่ออวัยวะภายในของร่างกาย ด้านสุขภาพ เป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิต ทั้งผลเสียทั้งในระยะสั้นและระยะสะสม หากดื่มสุราติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน (ติดเหล้า) จะส่งผลอย่างแน่นอนกับระบบความจำ ระบบประสาท ระบบเลือด ความดัน และที่ส่งผลโดยตรงต่ออวัยวะในร่างกายคือ "ตับ" พิษภัยจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังส่งผลต่อสมองที่รุนแรงขึ้นหากดื่มตั้งแต่อายุยังน้อย

     1. โทษต่อสมองและระบบประสาท

ระบบประสาทส่วนปลาย :จะทำให้เกิดมีหลายประสาทอักเสบ มีอาการชาตามปลายมือ, ปลายเท้า เป็นอาการของเหน็บชา, อาการทรงตัวเสียไป
สมอง : เมื่อเริ่มดื่มสุราใหม่ ๆ จะทำให้ระบบควบคุมการทำงาน จะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า, สดชื่น มีการเปลี่ยนแปลทางบุคลิก เมื่อดื่มสุรามากขึ้นจะเกิดอาการมึนเมาง่วงนอนหลับ หมดสติ
การที่ดื่มสุราเรื้อรัง : จะมีการเปลี่ยนแปลงในสมองทำให้ความจำเสื่อม, ความคิดเลอะเลือน เมื่อเป็นระยะนานขึ้นจะทำให้สมองเสื่อมทำให้การทรงตัวเสีย จะมีลักษณะเดินไม่ตรงทาง เมื่อเอ็กซเรย์สมองจะพบว่าขนาดของสมองเล็กลง จะมีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพ ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมบางครั้งจะเศร้าซึม หรือบางครั้งจะมีประสาทหลอน ระแวงว่าจะมีคนมาทำอันตราย
2. ผลต่อระบบทางเดินอาหารและตับ

กระเพาะอาหาร : พิษของสุราจะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย ซึ่งกรดในกระเพาะก็จะเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นแผลในกระเพาะ จะทำให้เกิดมีอาการปวดท้องหรืออาเจียนเป็นเลือดได้
ตับอ่อน : เมื่อดื่มสุรามากๆ แอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นตับอ่อนทำให้หลั่งน้ำย่อยออกมามาก ทำให้เกิดมีตับอ่อนอักเสบมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ไข้สูง ในบางครั้งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ตับ : ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญในการทำลายแอลกอฮอล์ เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะถูกดูดซึมเข้าลำไส้ แล้วส่งตรงไปยังตับเพื่อลาย เมื่อมีปริมารน้อยร่างกายก็ทนทานได้เมื่อมีปริมารมากขึ้นตับก็จะบวม มีไขมันไปแทรกตามเซลล์ของตับ เมื่อมีอาการนานเข้าจะทำให้เกิดโรคตับแข็ง ซึ่งจะมีอาการมานน้ำอาเจียนเป็นเลือด และอาจจะแปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งของตับได้ ดังนั้นโทษของการดื่มสุราอย่างเห็นได้ชัดในคนส่วนใหญ่คือการเป็นโรคตับแข็งนั่นเอง
3. ระบบหัวใจและหลอดเลือด

 .ระบบหัวใจ เมื่อดื่มสุรามาก ๆ จะทำให้การเต้นและการบีบตัวของหัวใจไม่ปกติ หัวใจเต้นเร็วขึ้นและขณะเดียวกันถ้าดื่มสุรามากจะขาดวิตามินบีหนึ่ง ก็จะทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจทำงานไม่ดี ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เกิดหัวใจโต ทำงานไม่ได้ตามปกติ จะมีอาการเต้นไม่ปกติได้
ระบบหลอดเลือด แอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดขยายตัวและทำให้ไขมันในเลือดสูงทำให้เส้นเลือดแข็งตัวง่าย ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ง่าย
4. โทษของสุราต่อระบบเม็ดเลือด
แอลกอฮอล์จะทำให้การทำงานของเม็ดเลือดแดงเสีย จะทำให้มีอาการของเลือดจาง ขาดสารพวกโฟลิก เม็ดเลือดขาวก็จะมีการผลิตน้อยลง ความต้านทานลดต่ำลง การหยุดเลือดในร่างกายไม่ดีเนื่องจากเกร็ดเลือดทำหน้าที่ไม่ดีทำให้มีอาการตกเลือดได้ง่าย
5. อัตราการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆเป็นการตายอันดับที่สองของกลุ่มคนที่ติดสุราเรื้อรัง และมีโอกาสเกิดมะเร็งสูงถึง 10 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติ อวัยวะที่พบมะเร็งได้บ่อยคือหลอดอาหาร กระเพาะ ตับ และตับอ่อน
6. ระบบขับถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์


แน่นอนว่าเมื่อดื่มแอลกอฮอล์น้อยๆ จะมีความต้องการทางเพศสูง แต่เมื่อดื่มเรื้อรังความต้องการทางเพศจะลดลง และอาจจะส่งผลทำให้ลูกอัณฑะเล็กลงได้ ส่วนในผู้หญิงตั้งครรภ์ถ้าดื่มสุรา จะทำให้เกิดการแท้งหรือคลอดบุตรเร็ว และบุตรมีโอกาสเกิดมาเป็นเด็กที่มีความผิดปกติได้สูง
โทษของการดื่มสุราต่อสังคม
โทษของสุราต่อสังคมที่เป็นปัญหาในทุกวันนี้คงหนีไม่พ้น การเมาแล้วขับ ที่เรามักพบเจอบ่อยๆในช่วงเทศกาลหยุดยาว ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตจากการเมาแล้วขับ ทั้งตัวเราและคนรอบข้างนั้นถือครองอันดับ 1 ในการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมายาวนานเป็นเวลาหลายปี
อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ
เนื่องจากผู้ที่ดื่มสุราหรือเหล้า มักมีความมั่นใจว่าไม่เมา มั่นใจว่ามีสติขับรถได้จริงๆ แต่ในความเป็นจริงนั้น โทษของสุราที่ดื่มเข้าไปจะไปกดประสาทส่วนกลาง ทำให้การรับรู้เรื่องราวต่างๆช้าลง และส่งกระทบผลต่อระบบการตัดสินใจ จึงยังไม่สามารถควบคุมตนเองได้เต็มร้อย จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ได้สูงมาก

การทะเลาะวิวาท
สุรามีผลกระทบต่อสมองส่วนหน้า เป็นส่วนควบคุมสติ และการตัดสินใจ ดังนั้นคนที่เมาสุราจึงมักจะหาเรื่องทะเลาวิวาทกับผู้อื่นเป็นประจำ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียต่อคนรอบข้างด้วยเช่นกัน


ฆาตกรรม
มีผลการศึกษาคดีฆาตรกรรมจากการผ่าพิสูจน์ศพ โดยพบว่ามากกว่า 60% ของผู้ที่เสียชีวิต/ก่อนเหตุจากคดีฆาตรกรรม ตรวจพบว่าในร่างกายมีเหล้าผสมด้วยอยู่เสมอ เพราะการดื่มเหล้าจะช่วยให้ศูนย์ควบคุมจิตใจทำงานได้แย่ลง ส่งผลให้ทำในสิ่งที่กล้าได้มากขึ้น
การฆ่าตัวตาย   ผลการวิจัยพบว่าในจำนวนคนกว่า 50% ของผู้ที่เคยฆ่าตัวตายนั้น จะต้องดื่มสุราเพื่อเรียกความกล้าก่อนเสมอ เนื่องจากเมื่อสุราออกฤทธิ์ไปยังสมองส่วนกลางแล้ว จะทำให้ผู้ดื่มรู้สึกคลายทุกข์ และมีความกล้าเพิ่มขึ้น

วิธีหลีกเลี่ยง และเลิกดื่มสุรา
1.           เมื่อมีอายุน้อยไม่ควรจะดื่มสุรา เนื่องจากยังไม่สามารถจะคิดและพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของสุรา จะทำให้ติดสุราโดยง่าย
2.           ไม่ควรทดลองดื่มสารที่ผสมด้วยแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เกิดการติดตามไปดื่มสุราได้
3.           ควรขจัดค่านิยมว่าลูกผู้ชายต้องดื่มสุรา
4.           ผู้ที่ดื่มสุรามากควรจะได้ศึกษาโทษและอันตรายที่เกิดกับสุรา
5.           ควรจะพยายามหาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำไห้ดื่มสุราและแก้ไข
6.           กรณีไม่สามารถเลิกได้อย่างจริงจัง ก็ให้ใช้ยาช่วยให้หยุดดื่มสุรา เนื่องจากถ้ารับประทานยานั้นแล้วดื่มสุราจะทำให้เกิดอาการอาเจียนทำให้ดื่มไม่ได้
7.           ปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากดื่มสุรา เช่น โรคประสาท โรคตับ โรคกระเพาะ



ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
·         ผู้ที่ดื่มมากกว่า 3 หน่วยสุราทุกวันจะมีโอกาสความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะผู้สูงอายุหากดื่มมากความดันก็จะสูง ยิ่งดื่มมากยิ่งสูงมาก เมื่อความดันโลหิตสูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่ดื่มครั้งละมากกว่า 8 หน่วยสุราต่อครั้งจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ 2 เท่า ผู้ดื่มสุราเป็นปริมาณมากและเรื้อรังจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจวาย
·         จากการศึกษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมากพบว่าหากดื่มสุราขนาดปานกลางดังกล่าว จะมีอัตราการตายจากโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่ดื่มมากและผู้ที่ไม่ดื่มสุรา การจะให้ลดอัตราการตายควรจะดื่มเมื่ออายุมากกว่า 65 ปีและมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ชนิดของสุราที่ลดอัตราการตายได้ดีคือพวกไวน์ทั้งนี้ อาจจะเนื่องจากผู้ที่ดื่มไวน์มักจะสูบบุหรี่น้อยกว่าพวกที่ดื่มสุราอย่างอื่น และได้รับสารอาหารครบถ้วนกว่า มีคำอธิบายว่าทำไมสุราจึงลดอัตราการเกิดโรคหัวใจโดยปกติแล้วการเกิดโรหลอดเลือดหัวใจตีบตันจะต้องมี 1การที่หลอดเลือดแดงตีบ 2มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดแดง 3ลิ่มเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ สุราจะช่วยโดยป้องกันการหดตัวของหลอดเลือด ป้องกันการแข็งตัวของลิ่มเลือด และทำให้ลิ่มเลือดละลายเร็ว
·         แต่อย่างไรก็ตามท่านต้องชั่งน้ำหนักให้ดีว่าประโยชน์และโทษอันไหนมากกว่ากัน หากดื่มมากเกินก็เสี่ยงต่อโรคกระเพาะ ตับแข็ง อุบัติเหตุ สำหรับท่านที่ไม่ได้ดื่มอยู่แล้วแนะนำว่าไม่ควรดื่มเพราะมีอีกหลายวิธีที่จะป้องกันโรคหัวใจ สำหรับท่านที่ดื่มก็แนะนำให้ลดปริมาณลงเท่าที่กำหนด
ผลของสุราต่อการทำงานของสมอง
ผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องความจำและความคิดอ่าน หากดื่มสุราจะทำให้สมองฝ่อก่อนวัยโดยเฉพาะสมองส่วนหน้า frontal lobes ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดอ่าน ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาเรื่องการทรงตัว การดื่มสุราก็จะทำให้การทรงตัวเสียมากขึ้นจึงหกล้มมากขึ้น
น้ำหนักเกิน
สุราก็มีพลังงาน เช่นเบียร์หนึ่งแก้วจะให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี หากคุณอ้วนคุณก็จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
อุบัติเหตุ
คนที่ดื่มสุรามักจะเกิดอุบัติเหตุทั้งที่บ้าน ที่ทำงานและบนท้องถนน และเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุมากกว่าครึ่ง เมื่อคุณดื่มสุรามากกว่า 2 หน่วยก็ทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง ผู้ที่ดื่มสุราหนึ่งหน่วยจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นสองเท่า ผู้ที่ดื่ม 4 หน่วยสุราจะเพิ่มความเสี่ยง 7 เท่า นอกจากนั้นผู้ที่ดื่มสุราอาจจะทำให้เกิดความรุนแรงภายในบ้าน
โรคตับ
สุราทำให้เกิดโรคตับได้หลายอย่าง เช่นไขมันจับที่ตับ Fatty liver พบได้บ่อยเมื่อเลิกสุราก็จะกลับมาปกติ ตับอักเสบ พบว่าร้อยละ 10-35 ของผู้ดื่มสุรามากจะเป็นตับอักเสบ ร้อยละ 10-20 จะเป็นตับแข็ง ผู้ที่ดื่มสุราและไม่ค่อยรับประทานอาหารจะมีโอกาสเป็นตับแข็งสูงและมะเร็งตับ การรักษาที่ดีที่สุดคือการอดสุรา ผู้ที่มีไขมันเกาะที่ตับหรือตับอักเสบจะกลับสู่ปกติ ส่านผู้ที่ตับแข็งคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นหลังจากอดสุรา  มีรายงานว่าต้องให้สารอาหารคาร์โบไฮเดตร์ให้พอ ให้สาร polyunsaturated lecithin (PUL)(ซึ่งสกัดจากถั่วเหลือง)ให้เพียงพอเพราะสารนี้จะไปลด scar นอกจากนั้นควรจะได้สาร S-adenosyl-l-methionine (SAM) ซึ่งกล่าวว่าจะลดการอักเสบของตับ
มะเร็งระบบอื่น
ได้แก่มะเร็งปาก  ปอด หลอดอาหาร ตับอ่อน และคอหากสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร
หากดื่มเกินขนาดอาจจะทำให้ปวดท้อง เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
ผลของสุรากับการทำงานของสมองและการนอนหลับ
สุราจะมีผลต่อสมองทุกส่วน ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า สับสน บางรายอาจจะทำให้เกิดโรคจิต และหลอดเลือดสมองแตกการนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต ผลของสุราต่อการนอนหลับแบ่งออกเป็น
·         ผลของสุราต่อผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่ดื่มสุราก่อนนอนจะทำให้หลับง่ายเนื่องฤทธิ์กดประสาทของสุรา หลังจากนอนไปหนึ่งชั่วโมงก็จะมีการตื่นบ่อยและหลับยากโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะเกิดอาการได้ง่ายและมากกว่าคนหนุ่ม และเมื่อตื่นมาการทรงตัวจะไม่ดีทำให้ล้มลงกระดูกหักได้ง่าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเพลียและง่วงในตอนกลางวัน สำหรับผู้ที่ดื่มสุราก่อนนอน 6 ชั่วโมงผู้ป่วยจะตื่นได้ง่ายและหลับยาก
·         ผลของสุราต่อผู้ที่เป็นพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหาเรื่องการนอนมาก นอนหลับยาก ตื่นบ่อย คุณภาพของการนอนไม่ดีทำให้อ่อนเพลียในเวลากลางวัน หากผู้ป่วยลดสุรามากเกินไปจะเกิดอาการลงแดง alcohol withdrawal syndrome จะนอนไม่หลับ หรือช่วงสั้นๆ เกิดภาพหลอน
ผลต่อฮอร์โมน
สุราทำให้มีการสร้าง estrogen (ฮอร์โมนเพศหญิง) สูงจึงเป็นสาเหตุให้เกิดสมรรถภาพทางเพศลดลง
ผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูก
ผู้ที่ดื่มสุรานานจะทำให้เกิดโรคกระดูกจาง กล้ามเนื้อรีบ คันปริเวณผิวหนัง
ผู้หญิงกับการดื่มสุรา
ผู้หญิงไม่ควรดื่มสุราเนื่องจากผู้หญิงจะมีระดับสุราและโรคแทรกซ้อนมากกว่าผู้ชายเมื่อดื่มสุราปริมาณเท่ากัน มีการศึกษาในสหรัฐพบว่าผู้หญิงร้อยละ 34 ดื่มสุรามากกว่า 12 หน่วยเมื่อเทียบกับผู้ชายดื่มซึ่งมีผู้ที่ดื่มร้อยละ 56 อายุที่ดื่มมากคือ 26-34 ปี คนท้องไม่ควรดื่มสุราเพราะจะทำให้เด็กเกิดมาน้ำหนักน้อย และมีปัญหาต่อสุขภาพเด็ก
ผลของสุราต่อสุขภาพผู้หญิงพบได้เหมือนกับผู้ชายแต่พบได้บ่อยกว่าและเป็นตอนอายุน้อยกว่า โรคตับจะพบว่าหลังดื่มไม่นานผู้หญิงจะเป็นโรคตับอักเสบได้เร็วและตายจากโรคตับแข็ง สมองของผู้หญิงที่ดื่มสุราจะมีขนาดเล็กกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม ผลต่อหัวใจหากดื่มปริมาณ 1-2หน่วยสุราก็สามารถป้องกันโรคหัวใจและหากดื่มมากก็จะมีโรคกล้ามเนื้อหัวใจวาย cardiomyopathy มีรายงานว่าผู้ที่ดื่มสุราจะเป็นมะเร็งเต้านมได้บ่อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม มีรายงานว่าผู้หญิงที่ดื่มสุรามักจะเป็นเหยื่อของความรุนแรง เช่นการทุกทำร้ายร่างกาย การถูกข่มขืน













บทที่ 3
วิธีการดำเนินโครงงาน
  3.1  โปรแกรมที่ใช้ในการทำโครงงานบทที่3
            3.1.1  โปรแกรม Microsoft Word 2010
            3.1.2   เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  
            3.1.3  เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com  , www.gmail.com , www.google.com
 3.2 วิธีการดำเนินโครงงาน
สร้างเว็บบล็อก  (Blogger)

1.  เข้าไปที่ blogger จะเจอหน้าจอแบบนี้ ให้คลิกที่


2.เมื่อเราเข้าไปที่ blogger ที่ได้ทำการล็อกอินบัญชีของ Gmail แล้ว หน้าแรกของ blogger จะมีหน้าตาดังภาพ
ให้ลิกไปที่เมนู “บล็อกใหม่” เพื่อทำการสร้างบล็อก

 3. เมื่อเราคลิกไปที่เมนูเพื่อสร้างบล็อกใหม่แล้ว ให้ทำการกรอกรายละเอียดดังนี้ คือ ตรงหัวข้อ ให้พิมพ์ชื่อบล็อก ตรงที่อยู่ ให้ตั้งชื่อ URL ซึ่งควรใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษและตัวเลข และต้องดูตรงสถานะของบล็อกด้วยว่าชื่อ URL ที่ตั้งไปนั้นมีผู้ใช้แล้วหรือยังไม่มีผู้ใช้ มันจะแจ้งว่า “ที่อยู่บล็อกนี้สามารถใช้ได้” เสร็จแล้วให้ทำการเลือกรูปแบบ จากแม่แบบว่าจะให้บล็อกมีหน้าตาในการแสดงผลเช่นไร เมื่อเลือกแล้วก็ คลิกเมนู “สร้างบล็อก

4.เข้ามาคลิกตรง “บทความ” จะขึ้นว่าสร้างโพสใหม่ เขียนชื่อ เรื่องของตัวเองใส่เนื้อหา และเผยแพร่



























บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
4.1) ผลการดำเนินงาน
คณะผู้จัดทำสามารถดำเนินการได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีโดยการวางแผนวิธีดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและมีการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการทำโครงงาน เช่น
1.การรวบรวมข้อมูล “ยาเสพติด” จากทางอินเตอร์เน็ต
2.การศึกษาวิธีการสร้างเว็บบล็อกเพื่อใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้เรื่อง “ยาเสพติดจากทางอินเตอร์เน็ต


























บทที่ 5
สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

การจำทำโครงงานชุมนุม เรื่อง วัยรุ่นไทยห่างไกลยาเสพติด นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
        1.เพื่อให้รู้วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากยาเสพติด
        2.  เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
        3.เพื่อให้รู้โทษภัยและอันตรายจากยาเสพติด
  วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา  
            1 โปรแกรม Microsoft Word 2007
           2.  เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  
            3.   เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com  , www.gmail.com , www.google.com
สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
     จากการดำเนินงานโครงงานชุมนุม การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต       
 เรื่อง วัยรุ่นไทยห่างไกลยาเสพติด ในครั้งนี้สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
       ทำให้ได้เว็บบล็อกเรื่องวัยรุ่นไทยห่างไกลยาเสพติด เป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป ส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักวิธีป้องกันและโทษของยาเสพติดมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ 
ควรมีการจัดทำเว็บเกี่ยวกับการรณรงค์ยาเสพติดกับวัยรุ่นมากยิ่งขึ้น
 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
        1.  เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทำโครงงาน และบางครั้งอินเทอร์เน็ตมีปัญหา
        2.  สมาชิกในกลุ่มบางคนให้ความร่วมมือน้อยเพราะไม่ค่อยใส่ใจกับโครงงานนักจึงทำให้เสียเวลาและทำให้โครงงานเสร็จช้า

        3.ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดของแต่ละเว็บมีอย่างหลากหลาย ควรมีการวิเคราะห์ส่วนที่เป็นเนื้อหาที่สำคัญจริงๆ





บรรณาณุกรม


ความคิดเห็น

  1. A citizen titanium dive watch that is made by the company of
    by T H · 1993 · Cited by 1 — This titanium chainmail watch has a design damascus titanium that is unique in design and styling. The titanium rimless glasses titanium-blue watch provides a smooth titanium hip and high quality dial and titanium trim hair cutter reviews

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น